1. ถาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ตอบ พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป
2. ถาม ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ตอบ นั่นก็เพราะว่าทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งมีการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมิชอบโดยบุคคลใดๆ ก็ตามที่ส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น รวมไปถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือมีลักษณะลามกอนาจาร จึงต้องมีมาตรการขึ้นมาเพื่อเป็นการควบคุมนั่นเอง
3. ถาม: แล้วแบบไหนจึงจะเรียกว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้
ตอบ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข
การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด
การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล
เหล่านี้ถือว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้
" ผู้ให้บริการ ทุกคน เช่น หอพัก หรือ ผู้ทำอินเทอร์เน็ตในหอพัก จะต้องมีระบบจัดการข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ และจัดเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน ไม่เช่นนั้น อาจถูกปรับสูงสุด 5 แสนบาท "
4. ถาม: ผู้ให้บริการที่ระบุใน พ.ร.บ. นี้ คือบุคคลใดบ้าง
ตอบ สำหรับผู้ให้บริการตามที่พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้ สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
4.1ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย
4.2 ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่าอินเทอร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน
4.3 ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider)
4.4 ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น
ผู้ให้บริการ หมายถึง
ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Access Service Provider)
1.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) ทั้งมีสาย และไร้สาย
2. ผู้ประกอบการซึ่งให้บริการในการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในห้องพัก ห้องเช่า โรงแรม หรือ ร้านอาหารและเครื่องดืม ในแต่ละกลุ่มอย่างหนึ่งอย่างใด
3.ผู้ให้บริการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับองค์กร เช่น หน่วยงานราชการ บริษัท หรือ สถาบันการศึกษา
www.ajarnveerapong.com
ajarn.veerapong@gmail.com
วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
WDS คืออะไร?
ที่มา:http://www.thelordofwireless.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2777
WDS ย่อมาจาก Wireless Distribution System ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานแบบหนึ่งของ Access Point (หรือ Wirless Router) ใช้ในการต่อเชื่อมเครือข่าย (Bridge) ระหว่าง WDS node และในขณะเดียวกันก็สามารถทำงานเป็น AP รับการต่อเชื่อมจาก Wireless Client ได้พร้อมกัน (การทำงานในลักษณะ Repeater)
WDS เหมาะกับการเอาไปใช้แบบไหน?
- Bridge: WDS สามารถเอาเซ็ตให้มันทำงานแบบ bridge อย่างเดียว โดยไม่รับ wireless client การทำงานแบบนี้เรียกว่า WDS แบบ point-to-point ซึ่งใช้เชื่อมต่อเครื่อข่ายแบบมีสาย 2 แห่งเข้าด้วยกันโดยรวมกันเป็น subnet เดียว
- Repeater: อันนี้ตรงไปตรงมาครับ เป็นการใช้งานในรูปแบบ repeater คือ WDS node จะทำหน้าที่รับข้อมูลจาก WDS node ตัวอื่นและ repeat สัญญาณออกไปอีกที เป็นการขยายขอบเขตของสัญญาณ ข้อดีคือนอกจากจะทำงานเป็น repeater แล้ว คอมพิเตอร์ที่มาต่อกะ LAN ports ก็ยังสื่อสารกะเครื่องอื่นๆ ได้ด้วย (เทียบๆ แล้วคือ Bridge + Repeater แบบพร้อมๆ กัน)
ข้อดีของการเอา WDS มาเป็น bridge repeater คือมันสามารถกำหนดได้ ว่าให้ติดต่อกะ WDS node อันไหนบ้าง กรณีที่มี WDS node หลายตัว ซึ่งถ้าเราวางแผนดีๆ มันจะช่วยให้เน็ทเวิร์คมีประสิทธิภาพ (การต่อแบบ star) หรือมีเสถียรภาพเพิ่มขึ้นได้ (เช่นการต่อแบบ loop) http://www.tomsnetworking.com/Sections-article78-page10.php ถ้าเราชอบแบบง่ายๆ เราก็สามารถเลือก lazy WDS คือปล่อยให้มันเชื่อมต่อกะ WDS node อะไรก็ได้ (ไม่แนะนำ)
ข้อจำกัดของ WDS
WDS เป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สาย AP ทุกตัวในโหมด WDS จะใช้แค่ channel เดียวในการสื่อสารกัน และเนื่องด้วย WLAN 802.11b/g ใช้การสื่อสารแบบ half duplex (ในขณะใดขณะหนึ่งจะรับหรือส่งข้อมูลพร้อมกันไม่ได้ คล้ายๆ การพูดคุยแบบวิทยุ walkie-talkie) ดังนั้น ทุกๆ wireless hop จะต้องเสียเวลาจำนวนหนึ่งในการรับข้อมูลและส่งต่อข้อมูล ส่งผลให้ bandwidth ลดลง ลองพิจารณาข้อมูลตามนี้นะครับ (ก็อบมาจากคำอธิบายของนาย 4Access จาก linksysinfo.org) --- คือมีสาย ~~~ คือการสื่อสารไร้สาย
1. Wireless Client ~~~ [AP1] --- Wired Network (or Internet)
แบบแรกคือ AP แบบปกติที่เราใช้ๆ กัน สมมติว่าเราใช้ 802.11g 54Mpbs เอาจริงๆ ใช้ได้ประมาณ 20-24Mbps ซึ่งถ้าเป็นตามนี้เราก็จะสามารถสื่อสารระหว่าง Wireless Client กะ Wired Network ได้ประมาณ 20-24Mbps สมมติว่าส่งข้อมูล 1 packet ใช้เวลา 1ms อันนี้สมมติไว้สำหรับตัวอย่างต่อไปนะครับ เราจะใช้เวลา 1ms ในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
2. Wireless Client ~~~ [AP2] ~~wds~~ [AP1] -- Wired Network
แบบนี้มี AP2 เพิ่มเข้ามาอีกตัวเพื่อขยายเครือข่าย (repeater) โดยต่อกับ AP1 ด้วย WDS คราวนี้ เราจะเห็นว่าเกิด 2 wireless hops ระหว่าง Wireless Client กะ Wired Network ซึ่งจากเหตุผลเรื่อง half duplex ที่ผมบอกไว้แล้ว การส่งข้อมูล 1 packet จะระหว่าง Wireless Client กะ AP2 จะใช้เวลา 1ms และจาก AP1 ไปยัง AP2 จะใช้อีก 1ms รวมต้นทางถึงปลายทางใช้ 2ms หรือในอีกแง่หนึ่งคือ bandwidth จากต้นทางถึงปลายทางจะเหลือครึ่งหนึ่งของแบบแรก (เหลือ 10-12Mbps) ถ้าต่อหลาย hop จะยิ่งลดลงเรื่อยๆ
3. Wired Netowork --- [AP2] ~~wds~~ [AP1] -- Wired Network
แบบที่ 3 ใช้ WDS bridge ระหว่าง wired network เกิด wireless hop อันเดียวแบบรูปแรก ดังนั้นก็จะได้ bandwidth เต็ม (20-24Mbps)
ปัญหาอีกอย่างของ WDS คือ เสถียรภาพ ซึ่งยังไงๆ ไร้สายมันก็สู้มีสายไม่ได้อยู่แล้ว อันนี้คงต้องขึ้นกับคุณภาพสัญญาณ (ระยะทาง เสาส่ง การรบกวน) และคุณสมบัติของ AP ที่เอามาใช้ทำ WDS Network
WDS ย่อมาจาก Wireless Distribution System ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานแบบหนึ่งของ Access Point (หรือ Wirless Router) ใช้ในการต่อเชื่อมเครือข่าย (Bridge) ระหว่าง WDS node และในขณะเดียวกันก็สามารถทำงานเป็น AP รับการต่อเชื่อมจาก Wireless Client ได้พร้อมกัน (การทำงานในลักษณะ Repeater)
WDS เหมาะกับการเอาไปใช้แบบไหน?
- Bridge: WDS สามารถเอาเซ็ตให้มันทำงานแบบ bridge อย่างเดียว โดยไม่รับ wireless client การทำงานแบบนี้เรียกว่า WDS แบบ point-to-point ซึ่งใช้เชื่อมต่อเครื่อข่ายแบบมีสาย 2 แห่งเข้าด้วยกันโดยรวมกันเป็น subnet เดียว
- Repeater: อันนี้ตรงไปตรงมาครับ เป็นการใช้งานในรูปแบบ repeater คือ WDS node จะทำหน้าที่รับข้อมูลจาก WDS node ตัวอื่นและ repeat สัญญาณออกไปอีกที เป็นการขยายขอบเขตของสัญญาณ ข้อดีคือนอกจากจะทำงานเป็น repeater แล้ว คอมพิเตอร์ที่มาต่อกะ LAN ports ก็ยังสื่อสารกะเครื่องอื่นๆ ได้ด้วย (เทียบๆ แล้วคือ Bridge + Repeater แบบพร้อมๆ กัน)
ข้อดีของการเอา WDS มาเป็น bridge repeater คือมันสามารถกำหนดได้ ว่าให้ติดต่อกะ WDS node อันไหนบ้าง กรณีที่มี WDS node หลายตัว ซึ่งถ้าเราวางแผนดีๆ มันจะช่วยให้เน็ทเวิร์คมีประสิทธิภาพ (การต่อแบบ star) หรือมีเสถียรภาพเพิ่มขึ้นได้ (เช่นการต่อแบบ loop) http://www.tomsnetworking.com/Sections-article78-page10.php ถ้าเราชอบแบบง่ายๆ เราก็สามารถเลือก lazy WDS คือปล่อยให้มันเชื่อมต่อกะ WDS node อะไรก็ได้ (ไม่แนะนำ)
ข้อจำกัดของ WDS
WDS เป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สาย AP ทุกตัวในโหมด WDS จะใช้แค่ channel เดียวในการสื่อสารกัน และเนื่องด้วย WLAN 802.11b/g ใช้การสื่อสารแบบ half duplex (ในขณะใดขณะหนึ่งจะรับหรือส่งข้อมูลพร้อมกันไม่ได้ คล้ายๆ การพูดคุยแบบวิทยุ walkie-talkie) ดังนั้น ทุกๆ wireless hop จะต้องเสียเวลาจำนวนหนึ่งในการรับข้อมูลและส่งต่อข้อมูล ส่งผลให้ bandwidth ลดลง ลองพิจารณาข้อมูลตามนี้นะครับ (ก็อบมาจากคำอธิบายของนาย 4Access จาก linksysinfo.org) --- คือมีสาย ~~~ คือการสื่อสารไร้สาย
1. Wireless Client ~~~ [AP1] --- Wired Network (or Internet)
แบบแรกคือ AP แบบปกติที่เราใช้ๆ กัน สมมติว่าเราใช้ 802.11g 54Mpbs เอาจริงๆ ใช้ได้ประมาณ 20-24Mbps ซึ่งถ้าเป็นตามนี้เราก็จะสามารถสื่อสารระหว่าง Wireless Client กะ Wired Network ได้ประมาณ 20-24Mbps สมมติว่าส่งข้อมูล 1 packet ใช้เวลา 1ms อันนี้สมมติไว้สำหรับตัวอย่างต่อไปนะครับ เราจะใช้เวลา 1ms ในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
2. Wireless Client ~~~ [AP2] ~~wds~~ [AP1] -- Wired Network
แบบนี้มี AP2 เพิ่มเข้ามาอีกตัวเพื่อขยายเครือข่าย (repeater) โดยต่อกับ AP1 ด้วย WDS คราวนี้ เราจะเห็นว่าเกิด 2 wireless hops ระหว่าง Wireless Client กะ Wired Network ซึ่งจากเหตุผลเรื่อง half duplex ที่ผมบอกไว้แล้ว การส่งข้อมูล 1 packet จะระหว่าง Wireless Client กะ AP2 จะใช้เวลา 1ms และจาก AP1 ไปยัง AP2 จะใช้อีก 1ms รวมต้นทางถึงปลายทางใช้ 2ms หรือในอีกแง่หนึ่งคือ bandwidth จากต้นทางถึงปลายทางจะเหลือครึ่งหนึ่งของแบบแรก (เหลือ 10-12Mbps) ถ้าต่อหลาย hop จะยิ่งลดลงเรื่อยๆ
3. Wired Netowork --- [AP2] ~~wds~~ [AP1] -- Wired Network
แบบที่ 3 ใช้ WDS bridge ระหว่าง wired network เกิด wireless hop อันเดียวแบบรูปแรก ดังนั้นก็จะได้ bandwidth เต็ม (20-24Mbps)
ปัญหาอีกอย่างของ WDS คือ เสถียรภาพ ซึ่งยังไงๆ ไร้สายมันก็สู้มีสายไม่ได้อยู่แล้ว อันนี้คงต้องขึ้นกับคุณภาพสัญญาณ (ระยะทาง เสาส่ง การรบกวน) และคุณสมบัติของ AP ที่เอามาใช้ทำ WDS Network
วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ใช้แบตแบบใหนดีกับโซล่าเซล
ที่มา:http://solarwato.com/index.php/joomla-license
ความคิดเห็นจากช่างโหน่งครับ แบตเตอรี่เป็นตัวสะสมพลังงาน โซล่าเซลเป็นตัวประจุแบต มีแบตหลายชนิดที่จะนำมาประจุเก็บสะสมไฟไว้ใช้ หลายท่านยังคงสับสนที่จะเลือกตัวใหนดี ท่านที่มีเงินมากหน่อยก็เลือกแพงเข้าไว้(ของดีราคาถูกไม่มี)เข้าล๊อกของ ฝรั่งเลย แต่สำหรับชาวบ้านเราที่หาซื้อได้อย่างดีก็แบตที่ใช้กับรถยนต์ เปรียบเทียบราคาแบตรถยนต์ 150แอมป์ราคาอยู่ที่4,500บาท แบตแบบพิเศษสำหรับโซล่าเซล(Deep Cycle)ราคา5,500 ต่างกันอยู่1,000บาท แล้วใครจะเลือกซื้อของแพง(นอกจากพวกเรียนจบสูง)ชาวบ้าน100%ต้องเลือกซื้อแบ ตธรรมดา ช่างโหน่งเองก็ข้องใจมันต่างกันตรงไหนทั้งๆที่ก็เติมน้ำกรดแบบเดียวกัน จึงไปผ่าพิสูจน์ให้หายข้องใจ(ยังกะนิติเวช) เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าแผ่นตะกั่วจะมากกว่าหนากว่าแบตแบบธรรมดาไม่ได้ มีอะไรพิเศษนอกเหนือกับแบตธรรมดา ย่อมแน่นอนตะกั่วมากก็เก็บไฟได้มาก ราคาก็แพงเป็นธรรมดา สรุปว่าไม่มีอะไรที่แตกต่างกับแบตแบบตะกั่วกรดเลย(แหกตาเรา) เมื่อทราบดังนี้ช่างโหน่งจึงหันมาพัฒนาระบบชาร์จไฟจากโซล่าเซลเข้าแบตแบบ ตะกั่วกรดโดยเฉพาะ และไม่หันไปใช้แบตแบบDeep Cycle อีกเลย ประหยัดเงินตั้งเป็นพัน แล้วท่านจะเลือกใช้แบตแบบใหน? ส่วนช่างโหน่งเลือกที่จะใช้แบตแบบตะกั่วกรดของรถยนต์ทั้งนี้เพราะต้องการ กระแสมากในตอนใช้งาน เช่นงานกับเครื่องสูบน้ำ,เครื่องทำความเย็น งานเหล่านี้เวลาเครื่องสตาร์ทจะกินกระแสอยู่ประมาณ10-30แอมป์ดีซี หรือ3แอมป์เอซี แบบนี้ที่เราต้องการ แม้แบตจะใช้ได้เพียง20% แต่เราไปจำกัดที่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟน้อย เช่นทีวีก็ใช้ที่วีขนาดเล็ก15นิ้วLCDกินไฟแค่1แอมป์ดีซี มันก็เป็นทางออกทางหนึ่งที่ไม่ต้องใช้แบตแบบ Deep Cycle ชาวบ้านเห็นราคาแล้วไม่กล้าควักเงินซิ้อ มันก็ใช้ได้เหมือนกันในตอนแรก ส่วนในอนาคตค่อยว่ากันใหม่ นี้คือนิสัยของคนไทย ด้วยเหตุนี้ช่างโหน่งจึงมีงานทำตลอด นำเอาเทคโนโลยี่ของฝรั่งมาดัดแปลงใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย ลูกค้าเองก็เข้าใจกับการใช้งาน เพราะฉะนั้น ก็ถนัดใครถนัดมันจะมาตำหนิกันไม่ได้ครับ ขอให้หาเงินได้ก็พอ ส่วนระบบชาร์จเราออกแบบการชาร์ทแบบรุนแรงสามารถจ่ายกระแสได้มากกว่า300แอมป์ หรือต้องการมากกว่านั้นก็ได้ แบตตะกั่วกรดนี้มันชอบความรุนแรง จะเอาระบบชาร์ทของแบตแบบDeep cycle มาใช้พังไปหลายตัวแล้ว เราจึงออกแบบระบบชาร์ทเองไม่มีอุปกรณ์ที่สับซ้อน การใช้งานจึงทนทาน เราจึงกล้ารับประกันถึง 5 ปี ดังนั้นท่านจะเลือกใช้แบตแบบใหนดีลองตัดสินใจดู งานจะสำเร็จขึ้นอยู่กับการทดลอง ทฤษฎีเป็นเพียงแนวทางอาจจะดีหรือไม่ดียังไงก็ต้องทดลองอยู่ดี อย่าเพียงแต่คิดแล้วเฉย ขอให้ประสบผลสำเร็จครับ
ความคิดเห็นจากช่างโหน่งครับ แบตเตอรี่เป็นตัวสะสมพลังงาน โซล่าเซลเป็นตัวประจุแบต มีแบตหลายชนิดที่จะนำมาประจุเก็บสะสมไฟไว้ใช้ หลายท่านยังคงสับสนที่จะเลือกตัวใหนดี ท่านที่มีเงินมากหน่อยก็เลือกแพงเข้าไว้(ของดีราคาถูกไม่มี)เข้าล๊อกของ ฝรั่งเลย แต่สำหรับชาวบ้านเราที่หาซื้อได้อย่างดีก็แบตที่ใช้กับรถยนต์ เปรียบเทียบราคาแบตรถยนต์ 150แอมป์ราคาอยู่ที่4,500บาท แบตแบบพิเศษสำหรับโซล่าเซล(Deep Cycle)ราคา5,500 ต่างกันอยู่1,000บาท แล้วใครจะเลือกซื้อของแพง(นอกจากพวกเรียนจบสูง)ชาวบ้าน100%ต้องเลือกซื้อแบ ตธรรมดา ช่างโหน่งเองก็ข้องใจมันต่างกันตรงไหนทั้งๆที่ก็เติมน้ำกรดแบบเดียวกัน จึงไปผ่าพิสูจน์ให้หายข้องใจ(ยังกะนิติเวช) เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าแผ่นตะกั่วจะมากกว่าหนากว่าแบตแบบธรรมดาไม่ได้ มีอะไรพิเศษนอกเหนือกับแบตธรรมดา ย่อมแน่นอนตะกั่วมากก็เก็บไฟได้มาก ราคาก็แพงเป็นธรรมดา สรุปว่าไม่มีอะไรที่แตกต่างกับแบตแบบตะกั่วกรดเลย(แหกตาเรา) เมื่อทราบดังนี้ช่างโหน่งจึงหันมาพัฒนาระบบชาร์จไฟจากโซล่าเซลเข้าแบตแบบ ตะกั่วกรดโดยเฉพาะ และไม่หันไปใช้แบตแบบDeep Cycle อีกเลย ประหยัดเงินตั้งเป็นพัน แล้วท่านจะเลือกใช้แบตแบบใหน? ส่วนช่างโหน่งเลือกที่จะใช้แบตแบบตะกั่วกรดของรถยนต์ทั้งนี้เพราะต้องการ กระแสมากในตอนใช้งาน เช่นงานกับเครื่องสูบน้ำ,เครื่องทำความเย็น งานเหล่านี้เวลาเครื่องสตาร์ทจะกินกระแสอยู่ประมาณ10-30แอมป์ดีซี หรือ3แอมป์เอซี แบบนี้ที่เราต้องการ แม้แบตจะใช้ได้เพียง20% แต่เราไปจำกัดที่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟน้อย เช่นทีวีก็ใช้ที่วีขนาดเล็ก15นิ้วLCDกินไฟแค่1แอมป์ดีซี มันก็เป็นทางออกทางหนึ่งที่ไม่ต้องใช้แบตแบบ Deep Cycle ชาวบ้านเห็นราคาแล้วไม่กล้าควักเงินซิ้อ มันก็ใช้ได้เหมือนกันในตอนแรก ส่วนในอนาคตค่อยว่ากันใหม่ นี้คือนิสัยของคนไทย ด้วยเหตุนี้ช่างโหน่งจึงมีงานทำตลอด นำเอาเทคโนโลยี่ของฝรั่งมาดัดแปลงใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย ลูกค้าเองก็เข้าใจกับการใช้งาน เพราะฉะนั้น ก็ถนัดใครถนัดมันจะมาตำหนิกันไม่ได้ครับ ขอให้หาเงินได้ก็พอ ส่วนระบบชาร์จเราออกแบบการชาร์ทแบบรุนแรงสามารถจ่ายกระแสได้มากกว่า300แอมป์ หรือต้องการมากกว่านั้นก็ได้ แบตตะกั่วกรดนี้มันชอบความรุนแรง จะเอาระบบชาร์ทของแบตแบบDeep cycle มาใช้พังไปหลายตัวแล้ว เราจึงออกแบบระบบชาร์ทเองไม่มีอุปกรณ์ที่สับซ้อน การใช้งานจึงทนทาน เราจึงกล้ารับประกันถึง 5 ปี ดังนั้นท่านจะเลือกใช้แบตแบบใหนดีลองตัดสินใจดู งานจะสำเร็จขึ้นอยู่กับการทดลอง ทฤษฎีเป็นเพียงแนวทางอาจจะดีหรือไม่ดียังไงก็ต้องทดลองอยู่ดี อย่าเพียงแต่คิดแล้วเฉย ขอให้ประสบผลสำเร็จครับ
วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557
WDS Bridge / WDS / Client Bridge
ที่มา:http://www.sla.in.th/ask-question/4-article-zone/12--wdswds-bridgebridge-engenius
WDS Bridge Mode ดาวน์โหลดคู่มือการตั้งค่า
คือ การกระจายสัญญาณ Wireless จากจุดที่ 1 ไปยังจุดที่ 2 โดยทั้ง 2 จุดไม่สามารถใช้ระบบสัญญาณ Wireless ได้ ดังรูป
WDS Mode ดาวน์โหลดคู่มือการตั้งค่า
คือ การกระจายสัญญาณ Wireless จากจุดที่ 1 ไปยังจุดที่ 2 โดยทั้ง 2 จุดยังสามารถใช้ระบบสัญญาณ Wireless ได้ ดังรูป
Client Bridge Mode ดาวน์โหลดคู่มือการตั้งค่า
การกระจายสัญญาณ Wireless จากจุดที่ 1 ไปยังจุดที่ 2 โดย จุดที่ 1 ยังสามารถใช้ระบบสัญญาณ Wireless ได้ แต่จุดที่ 2 ไม่สามารถกระจายสัญญาณ Wireless ได้เหมือนจุดที่ 1 ดังรูป
WDS Bridge Mode ดาวน์โหลดคู่มือการตั้งค่า
คือ การกระจายสัญญาณ Wireless จากจุดที่ 1 ไปยังจุดที่ 2 โดยทั้ง 2 จุดไม่สามารถใช้ระบบสัญญาณ Wireless ได้ ดังรูป
WDS Mode ดาวน์โหลดคู่มือการตั้งค่า
คือ การกระจายสัญญาณ Wireless จากจุดที่ 1 ไปยังจุดที่ 2 โดยทั้ง 2 จุดยังสามารถใช้ระบบสัญญาณ Wireless ได้ ดังรูป
Client Bridge Mode ดาวน์โหลดคู่มือการตั้งค่า
การกระจายสัญญาณ Wireless จากจุดที่ 1 ไปยังจุดที่ 2 โดย จุดที่ 1 ยังสามารถใช้ระบบสัญญาณ Wireless ได้ แต่จุดที่ 2 ไม่สามารถกระจายสัญญาณ Wireless ได้เหมือนจุดที่ 1 ดังรูป
วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557
Wi-Fi Hotspot คืออะไร?
Wi-Fi Hotspot เป็นการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สายที่กำลังได้รับความนิยม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่พักอาศัย หมู่บ้าน คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนต์ โรงแรม รีสอร์ท ออฟฟิศสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า ร้านกาแฟ หรือแม้แต่ร้านอาหารต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถเพิ่มมูลค่าธุรกิจของตนเองให้มีความได้ เปรียบเหนือคู่แข่ง สามารถสร้างรายเพิ่มเติมให้แก่ธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการอีกด้วย
ด้วยระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายปรกตินั้น จะไม่สามารถควบคุมเวลา (Time usage) ความเร็วของการใช้งาน (Internet Speed) รวมไปถึงไม่สามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้ใช้งานได้ ทางเราจึงได้พัฒนาระบบ WiFi Hotspot ให้คุณสามารถเป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย ได้ ณ สถานที่ของคุณ ลูกค้าของคุณสามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สายได้อย่างสะดวกและง่ายดาย เพียงเชื่อมต่ออุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ากับสัญญาณ Wi-Fi ของท่าน ระบบจะขึ้นหน้าจอให้ป้อนรหัสผ่านจากทางหน้าเว็บเพื่อป้องกันการใช้งานโดยไม่ ได้รับอนุญาตคุณสมบัติเบื้องต้นของ WiFi Hotspot
- ป้องกันการแอบใช้งานอินเตอร์เน็ต
- จัดสรรแบนวิธ ให้ได้ความเร็วเท่ากันทุกเครื่อง
- จำกัดความเร็วในการดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆได้
- จำกัดความเร็วในการโหลดบิทได้
- ป้องกันการล็อกอินซ้ำ
- สร้างบัตรเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายเดือน หรือแบบ รายปี
- สามารถเก็บ Log File ได้
- ทำระบบ Load Balance ได้
- ระบบสามารถ Log Out โดยอัตโนมัติ หากลูกค้าลืมออกจากระบบ
คำถามสุดฮิต ยากทำ WIFI HOTSPOT มันผิดกฏหมายเรื่องคลื่นหรือเปล่า
สวัสดีครับ วันนี้ก็มาเปิดประเด็นอธิบายกันให้หายสงสัยไปกับคำถามที่ผมเจอบ่อยๆคือ ถ้าทำ WIFI HOTSPOT แล้ว จะโดนจับไหม
ขอท้าวความไปถึงเรื่องคลื่นก่อนแล้วกันครับ บ้านเราคลื่น 5ghz กับ 2.4 เป็นคลื่นฟรีนะครับไม่ต้องขออนุญาติ แต่ว่าถ้าจะนำคลื่นมาใช้ในเชิงพาณิชย์หรือให้บริการแก่สาธารณ ต้องขออนุญาตกับ กสทช ครับ แต่ กฏหมายก็ยังออกไม่แน่ไม่นอน ขาวๆ เทาๆ อยู่นั่นแหละ ซึ่งท่านสามารถจดได้ครับ ซึ่งราคาค่าธรรมเนียมก็ยังไม่แน่ชัด ขนาดเว็บ กสทช ก็ยังไม่เปิดออกมาเลยครับ
อ้างอิงเว็บนี้ครับ http://www.nbtc.go.th/wps/portal/NTC/TCBusLicApp/TCBusLicApp
สำหรับผู้ที่ต้องการให้บริการ WIFI จะอยู่ในใบอนุญาติ อินเตอร์เน็ตประเภท 3 คลิ๊กดูจะยังไม่มีรายละเอียดค่าธรรมเนียมครับ มันก็น่าจะราวๆ 35000 ต่อ 10 ปี แต่ว่า เราหาคนหุ้นด้วยแล้วใช้ใบอนุญาตเดียวกันได้ แต่ว่ามันก็คงไม่คุ้มกับการเริ่ม ซึ่งผมแนะนำ step ดังนี้ครับ
ทำ wifi ไปเลย ให้บริการไปเลย แค่อย่าไปชนหรือไปกระทบ tot 3bb อะไรก็พอ ถ้าทำแล้วไม่รุ่งก็ไม่เสียหลายครับ
ถ้ารุ่งขึ้นมาขยาย 7-8 หมู่บ้าน อำเภอ หลายที่ ออนไลน์เป็นร้อยๆ เงินมาทีหลายหมื่น แนะนำเลยครับ ไปขอใบอนุญาติซะ มีเงินแล้วตอนนี้
ทีนี้ก็ สามารถทำ wifi ได้ทั่วประเทศโดยไม่ต้องกลัวใครมาฟ้องครับ ซึ่ง ต้องระวังนิดนึงเรื่องกำลังส่งตัว ap กฏหมายไม่ให้เกิน 100mw ครับ แต่ว่าถ้าเขาเเข้มงวดจริงๆจังๆ ผมว่า คุกล้นครับ สินค้าที่นำเข้ามาขายในไทยที่มีตามตลาดเกินทั้งนั้น แต่มันปรับให้ไม่เกินได้ เวลาเขามาตรวจ
ขอท้าวความไปถึงเรื่องคลื่นก่อนแล้วกันครับ บ้านเราคลื่น 5ghz กับ 2.4 เป็นคลื่นฟรีนะครับไม่ต้องขออนุญาติ แต่ว่าถ้าจะนำคลื่นมาใช้ในเชิงพาณิชย์หรือให้บริการแก่สาธารณ ต้องขออนุญาตกับ กสทช ครับ แต่ กฏหมายก็ยังออกไม่แน่ไม่นอน ขาวๆ เทาๆ อยู่นั่นแหละ ซึ่งท่านสามารถจดได้ครับ ซึ่งราคาค่าธรรมเนียมก็ยังไม่แน่ชัด ขนาดเว็บ กสทช ก็ยังไม่เปิดออกมาเลยครับ
อ้างอิงเว็บนี้ครับ http://www.nbtc.go.th/wps/portal/NTC/TCBusLicApp/TCBusLicApp
สำหรับผู้ที่ต้องการให้บริการ WIFI จะอยู่ในใบอนุญาติ อินเตอร์เน็ตประเภท 3 คลิ๊กดูจะยังไม่มีรายละเอียดค่าธรรมเนียมครับ มันก็น่าจะราวๆ 35000 ต่อ 10 ปี แต่ว่า เราหาคนหุ้นด้วยแล้วใช้ใบอนุญาตเดียวกันได้ แต่ว่ามันก็คงไม่คุ้มกับการเริ่ม ซึ่งผมแนะนำ step ดังนี้ครับ
ทำ wifi ไปเลย ให้บริการไปเลย แค่อย่าไปชนหรือไปกระทบ tot 3bb อะไรก็พอ ถ้าทำแล้วไม่รุ่งก็ไม่เสียหลายครับ
ถ้ารุ่งขึ้นมาขยาย 7-8 หมู่บ้าน อำเภอ หลายที่ ออนไลน์เป็นร้อยๆ เงินมาทีหลายหมื่น แนะนำเลยครับ ไปขอใบอนุญาติซะ มีเงินแล้วตอนนี้
ทีนี้ก็ สามารถทำ wifi ได้ทั่วประเทศโดยไม่ต้องกลัวใครมาฟ้องครับ ซึ่ง ต้องระวังนิดนึงเรื่องกำลังส่งตัว ap กฏหมายไม่ให้เกิน 100mw ครับ แต่ว่าถ้าเขาเเข้มงวดจริงๆจังๆ ผมว่า คุกล้นครับ สินค้าที่นำเข้ามาขายในไทยที่มีตามตลาดเกินทั้งนั้น แต่มันปรับให้ไม่เกินได้ เวลาเขามาตรวจ
Wifi Hotspot ระยะการส่งไปไกลขนาดไหน?
อุปกรณ์ที่เราใช้ส่งสามารถส่งได้ 10 กม. ก็จริง แต่โน๊ตบุ๊คสามารถรับ-ส่งสัญญาณได้ 200-300 เมตร พวกมือถือก็ประมาณ 100-200 เมตร คุณอาจจะสงสัยว่า "เอะ! ทำไมบอกว่าส่งสัญญาณได้ 10 กม.ไง " NanoStation M2 สามารถส่งสัญญาณไปถึงโน๊ตบุ๊ค หรือมือถือที่อยู่ห่างออกไปไกลได้ แต่โน็ตบุ๊คหรือมือถือนั้นไม่สามารถส่งสัญญาณกลับมาหานั้นเอง ดูรูปด่านล่าง
เพิ่มคำอธิบายภาพ |
(การส่งสัญญาณจะส่งทั้งไปและกลับ)
ระยะการเจอสัญญาณของอุปกรณ์แต่ละชนิด ดังรูป
จากภาพด้านบน
- มือถือระยะการเจอสัญญาณ Wifi จะอยู่ที่ 100 - 200 เมตร
- โน๊ตบุ๊คระยะการเจอสัญญาณ Wifi จะอยู่ที่ 300 - 400 เมตร
- บ้านลูกค้าที่อยู่ไกล 400-500 เมตร หากสัญญาณน้อยหรือไม่มีสัญญาณ ให้ลูกค้าซื้อ Usb Wifi มาใช้ครับ ใช้ได้ทั้งโน๊ตบุ๊ค และเครื่อง PC ราคาก็ตั้งแต่ 400 ไปจนถึงหลายพัน ขึ้นอยู่กับยี่ห้อสเปก
- หากบ้านลูกค้าที่อยู่หาออกไป 1-2 กม. เราก็เสนอให้ลูกค้าซื้อ NanoStation Loco M2 ติดครับ โดยมีข้อแม้ว่าไม่ให้เค้าถอดปลั๊ก เพื่อที่เราจะได้ตั้งค่าเครื่องเป็น Repeater(เครื่องทวนสัญญาณ) เพื่อกระจายสัญญาณไปอีกต่อหนึ่ง ทำให้เรากระจายสัญญาณ Wifi ออกไปอีกโดยไม่ต้องลงทุน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)