วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

คำสั่งการใช้งาน PostgreSQL บน Windows ทาง Command line


1.การตรวจสอบดูว่ามีฐานข้อมูลใดบ้างอยู่ใน PostgreSQL โดยใช้คำสั่ง
psql –l –U postgres
2.ถ้า พบว่า มี ฐานข้อมูลเก่า อยู่แล้ว ให้ ลบ ฐานข้อมูลเก่าออกก่อน โดยใช้คำสั่ง
dropdb <ชื่อฐานข้อมูล> -U postgres
ตัวอย่าง การลบฐานข้อมูลชื่อ test
dropdb test –U postgres
3.สร้างฐานข้อมูลใหม่ ใช้คำสั่ง
createdb <ชื่อฐานข้อมูล> -E Unicode –U postgres
ตัวอย่าง การสร้างฐานข้อมูลชื่อ test1
createdb test1–E Unicode –U postgres
4.execute ในฐานข้อมูลที่ต้องการ โดยใช้คำสั่ง
psql <ชื่อฐานข้อมูล> < <ชื่อไฟล์ sql>
ตัวอย่าง execute ไฟล์ hospitalosV3.sql ในฐานข้อมูล test1 เพื่อสร้างตารางในฐานข้อมูล (schema
หรือ/และ data)
psql test1 < hospitalosV3.sql –U postgres
5.การ dump ฐานข้อมูลมาเก็บไว้เป็นไฟล์ sql ให้ใช้คำสั่ง
pg_dump <ชื่อฐานข้อมูล> > <ชื่อไฟล์ sql>
ตัวอย่าง dump ฐานข้อมูล test1 เก็บไว้เป็นไฟล์ชื่อ backup_test1.sq;
pg_dump test1 > backup_test1.sql
หมายเหตุ สามารถ dump เฉพาะ schema หรือ data ได้ โดยใช้ option เพิ่มเติม ดูได้จากการใช้คำสั่ง
pg_dump –help

หนังสือขอคัดระวางที่ดินและเอกสารสิทธิ์ที่ดิน

ที่มา: http://techforlocal.wordpress.com/2011/08/04/lcopy/

หนังสือที่อ้างถึง
หนังสือที่ มท 0515/ว 12309 เรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมกรณี ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ ขอตรวจหลักฐาน ขอคัดหรือขอถ่ายสำเนาเอกสาร

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

ปรับปรุงแก้ไขระบบงานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินระบบเดิมเป็นระบบ LTax3000



  
การปรับปรุงข้อมูลเพื่อนำมาใช้ใน LTax3000 เป็นการปรับปรุงข้อมูลฐานถาษีเดิมจากโปรแกรมเดิมของถ้าท้องถิ่นที่มีการ ดำเนินการว่าจ้างทำแผนที่ภาษีฯไปแล้ว แต่โปรแกรมแผนที่ภาษีฯ ไม่ใช่ LTax3000 หรือโปรแกรมเดิมใช้ไม่ได้


รายละเอียดเพิ่มเติม


บริการรับทำแผนที่ ขายภาพถ่ายทางอากาศ ขายภาพถ่ายจากดาวเทียมราคาถูก

  รับจัดทำภาพถ่ายจากดาวเทียม Google Earth ,Bing Map ,Yahoo Map รายละเอียดสูง มาตราส่วน 1:4,000 ราคาถูก ระวางละ 160 บาท (1 ระวางเท่ากับ 4 ตารางกิโลเมตร) ใช้ในงานด้านต่างๆ เช่นงานแผนที่ภาษี,ผังเมือง,สาธารณสุข,การเกษตร,การใช้ประโยชน์ที่ดิน ฯลฯ ตัวอย่างภาพ 1 ระวาง

http://www.ajarnveerapong.com/download/raster/603940486.tif


ตรวจสอบรายชื่อระวาง/ภาพถ่ายจากดาวเทียม ตามชื่อตำบล

www.ajarnveerapong.com/rawang_gis/rawanggis.php


การนำไปใช้ประโยชน์
- ด้านการคมนาคมขนส่ง


- ด้านการสำรวจสภาพการใช้ที่ดิน

-การใช้ประโยชน์ที่ดิน


- แผนที่ภาษี/แผนที่โฉนดในเขตปกครองส่วนท้องถิ่น

- ผังเมือง

รายละเอียดเพิ่มเติม
Mobile : 086-645-1435
Mail : ajarn.veerapong@gmail.com Website: www.ajarnveerapong.com

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์รายงานสถานการณ์โรคไม่ติดต่อและโรคเรื้อรัง (NCD GIS)




ผลงานที่ผ่านมา

  • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
  • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก

รายละเอียดเพิ่มเติม

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์รายงานสถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (R506 GIS)


ผลงานที่ผ่านมา
- สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่
- สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี
- สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก

รายละเอียดเพิ่มเติม

บริการรับทำแผนที่ เส้นชั้นความสูง (Contour) มาตราส่วน 1 : 4,000

เส้นชั้นความสูง (Contour Line) คือ เส้นที่แสดงลักษณะความสูงต่ำของพื้นที่ เป็นเส้นจินตนาการของระดับที่คงที่บนพื้นดิน เป็นเส้นที่ได้จากการลากเส้นคงที่ผ่านจุดต่าง ๆ บนพื้นดินที่มีค่าระดับเท่ากัน เส้นชั้นความสูงที่มีค่าเป็นบวก คือเส้นที่แสดงค่าความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนเส้นชั้นความสูงที่มีค่าเป็นลบเป็นเส้นชั้นความสูงที่แสดงค่าความสูงใต้ ระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนโครงการจัดทำแผนที่เพื่อการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและทรัพย์สิน ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่กลุ่มบริการแผนที่และภาพถ่ายออร์โธสี ให้บริการเส้นชั้นความสูงในปัจจุบัน มีรายละเอียดดังนี้
 เส้นชั้นความสูง มีคุณสมบัติดังนี้

  1. จัดเก็บในรูปแบบของ Vector Files (.shp)
  2. เส้นชั้นความสูงสร้างจากแบบจำลองระดับสูงแบบจุด
  3. วัดจุดระดับความสูงที่เป็นตัวแทนภูมิประเทศทุกๆ ระยะ 4 เมตร
ตัวอย่างเส้นชั้นความสูง (Contour
รายละเอียดเพิ่มเติม
Mobile : 086-645-1435
Mail : ajarn.veerapong@gmail.com Website: www.ajarnveerapong.com

วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556

การสร้างเสนชั้นความสูง (Contour Line) จาก จุดความสูง (Spot Height) ด้วย Arcview


วิธีการจัดทำข้อมูลทะเบียนทรัพย์สินที่ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด

ที่มา:http://userspatax.fix.gs/index.php?topic=160.msg722;topicseen#msg722
       
เริ่ม จากข้อมูลทะเบียนทรัพย์สินที่ชำระภาษีแล้ว โดยการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลให้ถูกต้อง ครบถ้วน ทั้งเอกสารและรายละเอียดที่จำเป็น ในกรณีภาษีบำรุงท้องที่ให้จัดทำแบบยื่นแสดงรายการที่ดิน(ภ.บ.ท.5) พร้อมจัดเก็บเอกสารให้ครบถ้วนคือ จะต้องมีสำเนาเอกสารสิทธิที่ดิน(ระบุการใช้ประโยชน์ที่ดินแปลงนั้น) สำเนาบัตรประจำตัวหรือสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดิน ประกอบการยื่นแบบฯ เพิ่มให้สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้บันทึกลงในระบบคอมพิวเตอร์ครับ

กรณีภาษีบำรุงท้องที่ จะพบว่ารายละเอียดที่ต้องการทราบไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสาร สิทธิ์ ที่ตั้ง ขนาดแปลงที่ดิน และเจ้าของแปลงที่ดินนั้นๆ จะปรากฎอยู่ในเอกสารสิทธิ์แล้ว จะมีเฉพาะการใช้ประโยชน์บนที่ดินแปลงนั้นๆ เท่านั้นที่จะต้องสำรวจเพิ่มเติมจากเจ้าของแปลงที่ดินหรือสำรวจภาคสนาม ดังนั้นถ้าเราสามารถจัดเก็บข้อมูลจากเจ้าของที่ดินได้มากเท่าใดก็จะทำให้เรา สามารถจัดทำข้อมูลภาษีบำรุงท้องที่ได้สมบูรณ์ครบถ้วนมากเท่านั้น ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณในการจัดทำได้อีกทางหนึ่ง

ข้อพึงระวังกรณีจัดทำแผนที่แม่บท

ที่มา :http://userspatax.fix.gs/index.php?topic=268.msg613;topicseen#msg613

ในขั้นตอนของการจัดทำแผนที่แม่บทนั้น โดยทั่วไปจะมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
1. ถ่ายภาพระวางที่ดินจากสำนักงานที่ดิน(ขนาดจริง A1) ถ่ายเป็นกระดาษขาว
2. นำภาพถ่ายระวางมากวาดภาพ(scan) ที่รายละเอียด 200-300 จุดต่อนิ้ว
จาก กรณีที่กรมฯจัดอบรมให้นำภาพดังกล่าวเข้าสู่โปรแกรม LTaxGIS แล้วกำหนดค่าพิกัดของมุมทั้งสี่ เพื่อกำหนดตำแหน่งภาพบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ แล้วดำเนินการสร้างข้อมูลแปลงที่ดินนั้นมีข้อพึงระวังดังนี้

ขั้น ตอนดังกล่าวจะเกิดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลทั้งในขั้นตอนการถ่ายภาพระวางและ ขั้นตอนของการกวาดภาพ ซึ่งจะส่งผลทำให้บริเวณต่างๆ ภาพในภาพที่ได้มีระยะและตำแหน่งที่ผิดไปจากความเป็นจริงครับ สาเหตุจากต้นฉบับที่ผิดรูป บิดเบี้ยว การสอดระวางเข้าเครื่องอาจเอียงไม่ตรง ความต่อเนื่องของการดึงต้นฉบับของเครื่องถ่าย/เครื่องสแกนซึ่งจะส่งผลต่อภาพ ที่ได้

แนวทางการแก้ไขหรือลดความคลาดเคลื่อนดังกล่าว สามารถทำได้โดยการนำภาพที่ได้จากการกวาดภาพไปผ่านขั้นตอนการปรับแก้ความถูก ต้องทางเรขาคณิต(Geo-matric correction)และพิกัดภูมิศาสตร์(Geo-referance)

ระวางแผนที่ L7017 L7018 และ WGS 84 มันต่างกันยังไง

ที่มา :http://thaitopo.editboard.com/t676-topic

  • แผนที่ มาตราส่วน 1:50,000 ชุด L7017 อ้างอิงพื้นหลักฐาน Indian-1975 ครับ (ในชื่อ Indian Thailand-1975) และปัจจุบันเลิกผลิตไปแล้ว แต่ก็มีบางหน่วยงาน ยังใช้แผนที่ชุดนี้อยู่....ความคลาดเคลื่อนค่อนข้างเยอะ ทั้ง 3 แกน 
  • แผนที่ มาตราส่วน 1:50,000 ชุด L7018 อ้างอิงพื้นหลักฐาน WGS-84 (World Geodetic System 1984) ครับ เป็นชุดแผนที่ๆ กำลังใช้กันอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน และการสำรวจจัดทำแผนที่ชุดนี้ ใช้ GPS ในการรังวัดจุดควบคุม ทางราบ-ทางดิ่ง ทั่วประเทศ...ความแม่นยำ จะดีกว่า แผนที่ชุด L7017 
  • WGS-84 คือระบบกริดรูปแบบหนึ่ง ของระบบพิกัดกริด UTM (Universal Traverse Mercator) มีหน่วยที่ใช้บอกระยะทางเป็น เมตร

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

GIS กับ ระบบฐานข้อมูล

 ที่มา http://www.resgat.net/modules.php?name=News&file=article&sid=32
 
อันที่จริง ระบบ GIS เป็นฐานข้อมูลหรือ Database ชนิดหนึ่ง แต่เป็นฐานข้อมูลที่เกิดขึ้นมาชนิดที่เป็นฐานข้อมูลที่รวมข้อมูลประเภทข้อความและข้อมูลภาพหรือ graphic เข้าไปด้วย ซึ่งต่างจากระบบฐานข้อมูลทั่วไปเพราะในสมัยนั้นคำว่า ฐานข้อมูลหมายถึงข้อมูลที่เป็นตัวอักษรหรือตัวเลขแต่เพียงอย่างเดียว

ฉะนั้นในห้วงแรกเมื่อระบบ GIS เกิดขึ้นมาจึงต้องมีการเขียน Function เพื่อจัดการด้าน Graphic พร้อมๆกับการจัดการระบบระบบฐานข้อมูล ทำให้ผู้ที่ได้ใช้ระบบ GIS ในสมัยแรกต้องเรียนรู้ คำสั่งด้านการจัดการ GIS พร้อมๆกับคำสั่งด้านการจัดการฐานข้อมูลไปด้วย

ในปัจจุบันแนวความคิดที่จะนำระบบ GIS เข้าสู่ฐานข้อมูลอย่างเต็มตัวได้ปลุกกระแสให้ ผู้พัฒนาระบบฐานข้อมูลดังๆ อย่าง Oracle สนใจที่จะนำข้อมูล GIS เข้าสู่ในระบบฐานข้อมูลของตน จึงก่อให้เกิด ฐานข้อมูลประเภทใหม่ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลประเภท Graphic ได้หรือที่เรียกว่า object-relational database ขึ้นมา

เมื่อข้อมูล GIS เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลที่เป็น object-relational database สิ่งที่ได้ตามมาก็คือ ความปลอดภัย การจัดการอย่างมีระบบและการทำงานแบบหลายผู้ใช้ ตามแบบอย่างระบบฐานข้อมูลทั่วไป

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของการนำเอาข้อมูล GIS เข้าสู่ระบบฐานข้อมูล object-relational database ก็คือเราสามารถจัดการกับข้อมูลโดยใช้คำสั่งที่เรียกว่า SQL หรือ Structure query language ซึ่งเป็นภาษาที่มีประสิทธิภาพมากและเป็นภาษาในยุคที่ 4 ได้

นั่นคือเราสามารถจะใช้คำสั่ง SQL ในการสืบค้น การวิเคราะห์ การจัดการข้อมูล ของข้อมูล GIS ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย ในแง่ความเป็นมาตรฐานของการจัดการข้อมูล

แล้วเราจะลองใช้ ระบบฐานข้อมูล GIS ที่เป็นฐานข้อมูลจริงๆได้อย่างไรล่ะครับ นี่คงเป็นคำถามของผู้ที่อ่านมาถึงตรงนี้ ก็ขอตอบเลยว่า เราสามารถใช้ freeware ที่ชื่อว่า PostGIS ครับโดยที่ PostGIS จะทำงานร่วมกับระบบฐานข้อมูลที่เป็น object-relational database ของ PostgreSQL (ซึ่งก็เป็นระบบฐานข้อมูลประเภท OpenSource เช่นเดียวกับ MySQL ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูล OpenSourceยอดนิยมใน Internetครับ) โดยที่ PostGIS จะทำให้เราสามารถใช้คำสั่ง SQL จัดการกับข้อมูล GIS บน PostgreSQL ได้ครับ

ความรู้เกี่ยวกับเอกสารสิทธิที่ดิน


เอกสารสิทธิ์เกี่ยวกับที่ดินมีอยู่หลาย ประเภท ในที่นี้จะขอกล่าวแต่เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันที่เราอาจพบเจอได้ เท่านั้นครับ ซึ่งก็มีดังนี้ครับ
  • ส.ค. 1 คือ ใบแจ้งการครอบครองที่ดิน ซึ่งเป็นเพียงหลักฐานการแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่า คุณกำลังครอบครองที่ดินแปลงใดอยู่ ไม่ใช่หนังสือแสดงกรรมสิทธิที่ดินแต่อย่างใด และไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิได้ แต่ใช้แสดงเจตนาว่าจะสละการครอบครองให้แก่ผู้รับโอนได้เท่านั้น ทั้งนี้ ส.ค.1 สามารถใช้เป็นหลักฐานในการขอออกโฉนดที่ดิน น.ส.3 หรือ น.ส.3ก. ได้ ก็ ต่อเมื่อทางราชการมีการประกาศโครงการออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศ หรือเมื่อมีการยื่นขอออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะราย
  • น.ส. 2 คือ หนังสือแสดงความยินยอมให้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินเป็นการชั่วคราวจากทางราชการ ซึ่ง ผู้มีใบจับจองจะต้องจัดการทำประโยชน์ในที่ดินให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 75 ของที่ดินที่จัดให้ภายในสามปี โดยสิทธิดังกล่าวไม่สามารถโอนให้ผู้อื่นได้ ซึ่งเมื่อทำประโยชน์ตามเงื่อนไขข้างต้นครบกำหนดเวลาแล้ว จึงมีสิทธินำมาขอออกโฉนดที่ดิน น.ส.3 หรือ น.ส.3ก. ได้
  • น.ส.3 คือ หนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว โดยได้มีการรังวัดและจัดทำแผนที่ของที่ดินแล้ว
  • น.ส.3ก. คือ หนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นแล้ว แต่ต่างจาก น.ส.3 ตรงที่ มีการรังวัดและจัดทำแผนที่ของที่ดินนั้นจากภาพระวางรูปถ่ายทางอากาศเรียบร้อยแล้ว
  • โฉนดที่ดิน คือ หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยมีความหมายรวมถึงโฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองที่มีการประทับตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" ซึ่งออกให้ตามกฎหมายเก่า แต่ก็ถือว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ผู้เป็นเจ้าของโฉนดที่ดิน จะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอย่างสมบูรณ์ สามารถ ใช้สิทธิในที่ดินได้เต็มที่ มีสิทธิในการจัดจำหน่าย รวมถึงสิทธิในการปกป้องและขัดขวางไม่ให้บุคคลอื่นเข้ามาละเมิดสิทธิของตนใน ที่ดินนั้นด้วย
โกวิท ทาตะรัตน์

ใบแจ้งการครอบครอบที่ดิน (ส.ค. 1) คืออะไร?

    ใบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) คือใบแจ้งการครอบครองที่ดินเป็นหลักฐานว่าผู้ครอบครองเป็นผู้แจ้งว่า ตนครอบครองที่ดินแปลงใดอยู่ (แต่ปัจจุบันไม่มีการแจ้ง ส.ค.1 อีกแล้ว) ส.ค.1 ไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิที่ดิน เพราะไม่ใช่หลักฐานที่ทางราชการออกให้เพียงแต่เป็นการแจ้งการครอบครองที่ดิน ของราษฎรเท่านั้น ดังนั้น ตามกฎหมาย ที่ดินที่มี ส.ค.1 จึงทำการโอนกันได้ เพียงแต่แสดงเจตนาสละการครอบครองและไม่ยึดถือพร้อมส่งมอบให้ผู้รับโอนไปเท่า นั้น ก็ถือว่าเป็นการโอนกันโดยชอบแล้ว ผู้มี ส.ค.1 มีสิทธินำมาขอออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข) ได้ 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 นำมาเป็นหลักฐานในการขอออกโฉนดที่ดินตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินทั่ว ประเทศ กรณีนี้ ทางราชการจะเป็นผู้ออกให้เป็นท้องที่ไป โดยจะมีการประกาศให้ทราบก่อนล่วงหน้า
กรณีที่ 2 นำมาเป็น หลักฐานในการขอออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3, น.ส.3 ก.หรือ น.ส.๓ ข) เฉพาะราย คือ กรณีที่เจ้าของที่ดินมีความประสงค์ จะขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ก็ให้ไปยืนคำขอ ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่เฉพาะการออกโฉนดที่ดินนี้ จะออกได้ในพื้นที่ที่ได้สร้างระวางแผนที่สำหรับออกโฉนดที่ดินไว้แล้วเท่า นั้น

บริเวณที่ดินที่จะทำการออกโฉนดที่ดินได้นั้น บริเวณดังกล่าวต้องมีการสร้างระวางแผนที่เพื่อการออกโฉนดที่ดินไว้แล้ว ตามระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2532) ข้อ 4 ซึ่งการขอสร้างระวางแผนที่เพื่อการออกโฉนดที่ดิน สำนักงานที่ดินแห่งท้องที่จะเป็นผู้ขอสร้างระวางแผนที่ได้ แต่หากบริเวณใดที่ยังไม่มีระวางแผนที่ หรืออยู่ระหว่างการขอสร้างระวางแผนที่ แต่หากผู้ถือ ส.ค.1 ไม่ประสงค์จะรอการขอสร้างระวางดังกล่าว ก็สามารถยื่นคำขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามหลักฐาน ส.ค.1 ดังกล่าวและนำมาขอออกโฉนดที่ดินในภายหลังเมื่อมีระวางแผนที่พร้อมแล้วได้ ส่วนการจะออกเป็น น.ส.3 ก. (ครุฑเขียว)หรือ น.ส. 3 (ครุฑดำ) นั้นขึ้นอยู่กับบริเวณนั้นมีระวางรูปถ่ายทางอากาศหรือไม่ หากมีก็สามารถออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยใช้ระวางรูปถ่ายทางอากาศ (น.ส.3 ก.) (ครุฑเขียว) ให้กับผู้ถือส.ค.1 ได้ แต่หากไม่มีต้องออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) (ครุฑดำ) ให้ จึงขอให้ผู้ถือส.ค. 1 ติดต่อสำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของท่านอยู่ในหลักเกณฑ์ที่สามารถออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่อย่างไร [กฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497]

กรมที่ดิน ประกาศยกเลิก ส.ค. 1 ให้เวลา 2 ปี
โดยที่มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้ผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โดยมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)และยังมิได้ยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ นำหลักฐาน ส.ค.1 มายื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้ บังคับ (6 กุมภาพันธ์ 2553) และเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวหากมีผู้นำหลักฐาน ส.ค.1 มาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้ต่อ เมื่อศาลยุติธรรมได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ถึงที่สุดว่าผู้นั้นเป็นผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินโดยชอบด้วย กฎหมายอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ในการพิจารณาคดีของศาล ให้ศาลแจ้งให้กรมที่ดินทราบ และให้กรมที่ดินตรวจสอบกับระวางรูปแผนที่รูปถ่ายทางอากาศหรือระวางรูปถ่าย ทางอากาศฉบับที่ทำขึ้นก่อนสุดเท่าที่ทางราชการมีอยู่ พร้อมทั้งทำความเห็นเสนอต่อศาลว่า ผู้นั้นได้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินนั้นโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนวันที่ ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับหรือไม่ เพื่อประกอบการพิจารณาของศาล ความเห็นดังกล่าว ให้เสนอต่อศาลภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งจากศาล เว้นแต่ศาลจะขยายระยะเวลาเป็นอย่างอื่น

คำถาม-คำตอบที่ควรรู้
ถาม ส.ค. 1 หาย ติดต่อสำนักงานที่ดิน น้ำปาด บอกว่าให้ติดต่อ ที่ดินฟากท่า เมื่อติดต่อไปที่ดินฟากท่า บอกว่าเอกสารถูกไฟไหม้ไปเมื่อปี 2535 หมดแล้ว ทางกรมที่ดินจะให้ไปติดต่อที่ใด เพื่อออกหลักฐานแทน ส.ค 1. ที่หายไป ต้องการใช้ด่วน
ตอบ ส.ค. 1 สูญหาย จะต้องไปยื่นคำขอตรวจสอบทะเบียนการครอบครอง ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตามหลักฐาน ส.ค.1 ดังกล่าวตั้งอยู่ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบและสอบสวนเพื่อจัดทำ ส.ค.1 ขึ้นใหม่ทั้งสองตอน แต่ทั้งนี้จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงตามที่กรมที่ดินได้วางแนวทางไว้ให้เจ้า หน้าที่ปฏิบัติตามหนังสือของกรมที่ดิน ที่ มท 0610/ว 2608 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2509 สรุปได้ว่าการจัดทำ ส.ค.1 ขึ้นใหม่ทั้งสองตอนนั้น ต้องเป็นกรณีที่ปรากฏหลักฐานในทะเบียนการครอบครองที่ดินว่า ได้มีการรับแจ้งการครอบครองไว้และส.ค.1 ตอนที่ 2 (ฉบับเจ้าของที่ดิน) ก็สูญหายไปด้วยเช่นกันโดยให้สอบสวน ส.ค.1 ฉบับอำเภอว่าสูญหายไปได้อย่างไรก่อน และสอบสวนเจ้าของที่ดินเป็นข้อมูลในการจัดทำ แล้วดำเนินการจัดทำ ส.ค.1 ขึ้นใหม่ทั้ง 2 ตอน โดยอาศัยหลักฐานในทะเบียนการครอบครองที่ดินแล้วมอบ ส.ค.1 ตอนที่ 2 ให้เจ้าของที่ดินรับไปเป็นหลักฐานต่อไป หากทะเบียนการครอบครองที่ดินเล่มของสำนักงานที่ดินชำรุดสูญหาย สำนักงานที่ดินก็สามารถขอตรวจสอบมาทางกรมที่ดิน โดยระบุเลขที่ ส.ค.1 หมู่ที่ ตำบล อำเภอ จังหวัดและชื่อผู้แจ้งการครอบครองที่ดินให้ชัดเจน กรมที่ดินก็จะตรวจสอบกับเล่มทะเบียนการครอบครองที่ดินทางส่วนกลางและแจ้งให้ สำนักงานที่ดินทราบต่อไป กรณี ส.ค.1 สูญหายนี้ เจ้าหน้าที่จะพิจารณาจัดทำขึ้นใหม่ตามมาตรา 64 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินไม่ได้เพราะแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 เป็นเพียงหลักฐานที่แสดงว่า ผู้แจ้งเป็นผู้ครอบครองที่ดินอยู่ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินเท่านั้นและประมวล กฎหมายที่ดินก็ไม่ได้บัญญัติให้ดำเนินการได้เช่นเดียวกับกรณีโฉนดที่ดิน ใบไต่สวน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือใบจองฉบับสำนักงานที่ดินเป็นอันตรายชำรุดหรือสูญหาย
ถาม การซื้อขายที่ ส.ค.1 จะต้องไปจดทะเบียนที่ที่ดินหรือไม่ ถ้าไม่ไป สัญญาดังกล่าวจะเป็นโมฆะและเรียกเงินคืนได้หรือไม่?
ตอบ ส.ค.1 เป็นหนังสือซึ่งผู้ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวล กฎหมายที่ดินใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แจ้งการครอบครองที่ดินต่อนายอำเภอท้องที่ตามนัยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ส.ค.1 จึงไม่ใช่หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เป็นเพียงหนังสือที่พนักงานเจ้าหน้าที่ลงรับไว้เป็นหลักฐานว่าได้รับแจ้งการ ครอบครองเท่านั้น การซื้อขายที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ ส.ค. 1 ทำได้โดยการส่งมอบการครอบครองที่ดิน มิได้มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ณ สำนักงานที่ดินให้ปรากฏ ที่ดินประเภทนี้จึงเป็นที่ดินมือเปล่าและการแจ้งการครอบครองที่ดินนี้ก็มิ ได้ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้ง ( มาตรา 5 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ) ดังนั้น ตามกฎหมายที่ดินที่มี ส.ค.1 จึงทำการโอนกันได้ด้วยการส่งมอบการครอบครอง
ถาม มีที่ดิน ส.ค. 1 โดยพ่อซื้อต่อจากญาติและยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อใน ใบ ส.ค.1 และได้ทำกินมาตลอด (ปลูกยางพาราและบ้านอาศัย) ต่อมาพ่อเสียชีวิตและญาติที่มีชื่อใน ส.ค.1 ก็เสียชีวิตไปนานแล้ว ลูกๆได้ทำกินในที่นั้น ตลอดไม่ได้ทิ้งช่วง อยากจะขอออกเป็นโฉนด ลูกๆจะต้องเดินเรื่องอย่างไร เพราะใบ ส.ค.1 ไม่ใช่ชื่อพ่อ?
ตอบ ผู้ที่ครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องจากผู้แจ้ง ส.ค. 1 สามารถนำ ส.ค. 1 ดังกล่าว ไปยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินได้
ถาม ครอบครองที่ดินแปลงหนึ่ง มีสำเนา ส.ค.1 อยู่ แต่ไม่ใช่ชื่อของผม เป็นของญาติ ปัจจุบันมีชีวิตอยู่ ถ้าต้องการ ส.ค.1ใหม่ต้องทำอย่างไรบ้าง และถ้าออก ส.ค.1ใหม่ได้จะเป็นชื่อใคร ถ้าเป็นชื่อของญาติ เราจะนำไปออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ ถ้ามีสัญญาซื้อขายไปยืนยันด้วย
ตอบ ส.ค.1 คือ แบบแจ้งการครอบครองที่ดินสำหรับการนำหลักฐาน ส.ค.1 ไปขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ นั้น ผู้ที่ครอบครองและทำประโยชน์ต่อเนื่องมาจากผู้มีชื่อใน ส.ค. 1 ย่อมขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ ประโยชน์ โดยอาศัยหลักฐาน ส.ค.1 และสัญญาซื้อขายในนามตนเองได้ โดยสามารถดำเนินการได้ 2 วิธี
1.        โดยการดำเนินสำรวจออกโฉนดตามมาตรา 58 และ 58 วรรค (1) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
2.     ขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะตามมาตรา 59 แห่งประมวลกฎหมายทีดิน โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดนั้น
ถาม มีใบ ส.ค.1 แต่ยังไม่ได้ทำโฉนด คือจะถามว่า ยังไงที่ดินก็ยังเป็นของเราใช่ไมครับ กลัวว่าที่ข้างเคียงจะมั่วเอาที่ของผมไปด้วยครับ?
ตอบ กรณีนี้ที่ดินที่มีหลักฐาน ส.ค. 1 ขอแนะนำให้ไปยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินก่อนวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2553 เนื่องจากพ้นกำหนดดังกล่าว ผู้ที่ไปยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โดยอาศัยหลักฐาน ส.ค. 1 จะต้องนำคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดว่าเป็นผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำ ประโยชน์ในที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้ บังคับไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย
ถาม จะซื้อที่ดินเปล่าแต่ไม่มีโฉนดที่ดิน ในหมู่บ้านหนองสมอ ต.หนองระเวียง อ.เมือง นครราชสีมา มีแต่ใบ ส.ค. 1 ,ใบเสียภาษีที่ดิน อยากทราบว่าจะสามารถซื้อมาเป็นกรรมสิทธิ์ของเราได้หรือเปล่า และถ้าซื้อมาสามารถ ขอออกโฉนดที่ดินได้หรือเปล่า จะมีปัญหายุ่งยากหรือเปล่า?
ตอบ ส.ค.1 เป็นหนังสือซึ่งผู้ที่ได้ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน แจ้งการครอบครองที่ดิน ต่อนายอำเภอท้องที่ตามนัยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ส.ค.1 จึงไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเป็นเพียงหนังสือที่พนักงานเจ้าหน้าที่ลง รับไว้เป็นหลักฐานว่าได้รับแจ้งการครอบครองเท่านั้น ที่ดินมี ส.ค.1 จึงเป็นที่ดินมือเปล่าและการแจ้งการครอบครองที่ดินมิได้ก่อให้เกิดสิทธิขึ้น ใหม่แก่ผู้แจ้งแต่อย่างใด กล่าวคือ ถ้าผู้แจ้งการครอบครองมิใช่ผู้มีสิทธิในที่ดิน การแจ้งการครอบครองก็มิได้ทำให้ผู้แจ้งมีสิทธิขึ้นมาแต่อย่างใด สำหรับการออกโฉนดที่ดินจากหลักฐาน ส.ค.1 นั้น สามารถดำเนินการได้ตามมาตรา 59 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินโดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ สำหรับที่ดินที่สามารถออกโฉนดที่ดินได้จะต้องเป็นที่ดินที่มีผู้มิสิทธิใน ที่ดินได้ครอบครองทำประโยชน์แล้ว และเป็นที่ดินที่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ตามกฎหมาย ยกเว้น
1.        ที่ดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่นทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ ที่ชายตลิ่ง
2.     ที่เขา ที่ภูเขา และพื้นที่ที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามตามมาตรา 9(2) แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแต่ไม่รวมถึงที่ดินซึ่งผู้ครอบครองมีสิทธิครอบครอง โดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายที่ดิน
3.     ที่เกาะ แต่ไม่รวมถึงที่ดินของ(ซึ่งมีหลักฐานแจ้งการครอบครองที่ดิน มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หนังสือรับรองการทำประโยชน์โฉนดตราจอง ตราจองที่ได้ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" หรือเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพหรือ ที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติให้จัดแก่ประชาชนหรือที่ดิน ซึ่งได้มีการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา 10และมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติแล้ว
4.     ที่สงวนหวงห้ามตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 20(3) และ (4) แห่งประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2526 หรือกฎหมายอื่น
5.        ที่ดินที่คณะรัฐมนตรีสงวนไว้เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น

ดังนั้น หากจะซื้อที่ดินแล้วปรากฏว่า ที่ดินมี ส.ค.1 ควรให้ผู้ขายนำ ส.ค.1 ไปยื่นคำขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเสียก่อนเพื่อจะได้ตรวจสอบและพิสูจน์ ที่ดินเสียก่อน

คำพิพากษาฎีกาที่ควรรู้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1518/2503 การแจ้งการครอบครองที่ดินตามแบบ ส.ค.1 นั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้แจ้งแต่ประการใด เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้สิทธิครอบครองอยู่แล้ว โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาฎีกาที่ 1076-1079/2510 ผู้ที่ไม่มีสิทธิใน ที่ดิน แม้จะได้ไปแจ้งการครอบครอง ได้รับ ส.ค.1 และได้รับ น.ส.3 ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น รับซื้อที่ดิน น.ส.3 ไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อปรากฏว่าผู้มีชื่อใน น.ส.3 ไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น ผู้ซื้อก็ไม่มีสิทธิแต่อย่างใด
คำพิพากษาฎีกาที่ 472/2513 ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่า ส.ค.1 นั้นเป็นหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือถือว่าเหมือนโฉนด การแจ้งเป็นเพียงการแสดงเจตนาอย่างหนึ่งว่า ผู้แจ้งยังไม่สละสิทธิครอบครองที่ดินที่แจ้งนั้น การแจ้งก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่หรือกรรมสิทธิ์นอกเหนือไปจากสิทธิที่ ครอบครองมีอยู่แต่เดิม

ที่มา:  กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย

ภ.บ.ท. 5 คืออะไร?

ภ.บ.ท.5 เป็นแบบแสดงรายการที่ดินที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่จะต้องไปยื่น แบบดังกล่าวเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ประจำปีต่อเจ้าพนักงานประเมิน ณ สำนักงานอันเป็นที่ตั้งขององค์กรปกครองท้องถิ่นที่ที่ที่ดินตั้งอยู่ เช่น สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร สำนักงานเทศบาล ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508
ภ.บ.ท. 5 จึงมิใช่เอกสารสิทธิในที่ดินที่ออกตามประมวลกฎหมายที่ดิน การซื้อขายจึงทำได้เพียงการส่งมอบการครอบครองที่ดินให้แก่กันเท่านั้น ไม่สามารถไปจดทะเบียน สิทธิและนิติกรรม ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ได้ บุคคลที่มีชื่อใน ภ.บ.ท. 5 อาจจะไม่ใช่เจ้าของที่ดิน และที่ดินอาจจะเป็นที่หวงห้ามที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกเอกสารสิทธิตาม ประมวลกฎหมายที่ดินก็อาจเป็นได้ การซื้อขายที่ดินที่มีเพียง ภ.บ.ท. 5 จึงเป็นการเสี่ยงภัยของผู้ซื้อเอง หากประสงค์จะซื้อที่ดินที่มีหลักฐาน ภ.บ.ท. 5 ควรให้ผู้ขายยื่นคำขอออกหนังสือ แสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินเพื่อพิสูจน์สิทธิก่อนว่าสามารถออก เอกสารสิทธิได้หรือไม่ หากสามารถออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินได้และขอออกเอกสารสิทธิ ในที่ดินตามหลักฐาน ภ.บ.ท. 5 เนื้อที่ที่คำนวณได้จากการรังวัดออกเอกสารสิทธิย่อมไม่ตรงกับเนื้อที่ที่ ระบุไว้ในหลักฐาน ภ.บ.ท. 5 ได้เพราะถือว่าเป็นที่ดินที่ไม่มีหลักฐานสำหรับที่ดิน ไม่เคยมีการรังวัดคำนวณเนื้อที่โดยกรมที่ดินมาก่อนแต่อย่างใด อีกทั้งการรังวัดออกเอกสารสิทธิที่ดินจะใช้วิธีการรังวัดทำแผนที่และคำนวณ เนื้อที่โดยใช้หลักวิชาการทางแผนที่ซึ่งจะมี มาตรฐานความละเอียดถูกต้อง การแจ้งเนื้อที่ตามหลักฐาน ภ.บ.ท.5 จึงเป็นการแจ้งของผู้ทำประโยชน์ในที่ดินโดยประมาณเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ ประจำปีเท่านั้น
 
คำถาม-คำตอบที่ควรรู้
ถาม        1.อยากทราบว่า ภ.ท.บ. 5 นี้สามารถเปลี่ยนเป็น ส.ค.1 หรือ น.ส.3 ได้หรือไม่
               2. เปลี่ยนได้หรือไม่ได้เพราะอะไร ถ้าเปลี่ยนได้ควรทำอย่างไร?
ตอบ ภ.บ.ท. 5 เป็นแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ ดังนั้น ที่ดินบริเวณดังกล่าวจึงเป็นที่ดินมือเปล่า ไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ และ จะสามารถออกเอกสารสิทธิได้หรือไม่นั้น ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่สงวนหวงห้ามมิให้ออก เอกสารสิทธิหรือไม่ อย่างไร?
ถาม อยากทราบเรื่องการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน น.ส.3 กับซื้อที่ดินที่มีใบ ภ.บ.ท.5 การทำสัญญาซื้อขายต้องทำ 2 ฉบับ หรือรวมกันได้ แล้วมีแบบฟอร์มในการซื้อขาย ดังกล่าวหรือไม่?
ตอบ สัญญาซื้อขายที่ดิน เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ดังนั้น คุณต้องทำความตกลงกันเอง อย่างไรก็ตาม น.ส. 3 เป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่ ภ.บ.ท. 5 มิใช่เอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน การซื้อขายจึงทำได้เพียงการส่งมอบการครอบครองที่ดินให้แก่กันเท่านั้น ไม่สามารถไปจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ได้
ถาม ซื้อที่ดินเพื่อปลูกยางพารา แต่ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์อะไรเลย มีเพียงใบเสียภาษีดอกหญ้า แต่มีการทำสัญญาซื้อขายที่บ้านกำนันมีพยานหลายคน ที่แปลงนี้ขายต่อมาหลายทอดแล้ว จึงกังวลว่าภายในอนาคตมีจะมีปัญหาตามมา และสามารถฟ้องศาลได้หรือไม่ และเวลาที่ขายก็ไม่ได้มีการวัด เพียงแต่ตกลงกันด้วยวาจาเท่านั้น
ตอบ ที่ดินมีเพียงใบเสียภาษียอนหลัง เป็นเพียงแบบชำระภาษีบำรุงท้องที่ไม่ใช่เอกสารสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ดินอาจเป็นที่หวงห้าม ที่สาธารณะประโยชน์หรือที่ปีหรือเป็นที่ ที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกเอกสารสิทธิ์ได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน การซื้อขายที่ดินที่มีเพียงแบบเสียภาษีบำรุงท้องที่จึงเป็นการเสียงของผู้ ซื้อเองควรให้เจ้าของขอออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินก่อน
ถาม ภ.บ.ท. คืออะไร แล้วสามารถซื้อที่ดินที่มีใบ ภ.บ.ท.5 ได้หรือไม่?
ตอบ ภ.บ.ท.5 เป็นเพียงแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีท้องที่ไม่ใช่เอกสารสิทธิตามประมวล กฎหมายที่ดิน บุคคลที่มีชื่อใน ภ.บ.ท.5 อาจจะไม่ใช่เจ้าของที่ดินและที่ดินอาจจะเป็นที่หวงห้าม ที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินก็อาจเป็น ได้ การซื้อขายที่ดินที่มีเพียง ภ.บ.ท.5 จึงเป็นการเสี่ยงภัยของผู้ซื้อ หากท่านจะซื้อที่ดินที่มีหลักฐาน ภ.บ.ท.5 ให้ยื่นคำขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินเพื่อพิสูจน์ สิทธิก่อนว่าสามารถออกเอกสารสิทธิได้หรือไม่ หากท่านต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการนำ ภ.บ.ท.5 ไปออกโฉนดที่ดิน ขอให้สอบถามที่สำนักงานที่ดินทุกแห่ง
ถาม ใบ ภ.บ.ท. 5 นำมาขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่?
ตอบ ภ.บ.ท. 5 สามารถใช้เป็นเอกสารประกอบในการขอออกโฉนดที่ดินได้ หากที่ดินดังกล่าวมิได้เป็นที่สงวนหวงห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดิน ภ.บ.ท.5 เป็นเพียงแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีท้องที่ไม่ใช่เอกสารสิทธิตามประมวล กฎหมายที่ดิน บุคคลที่มีชื่อใน ภ.บ.ท.5 อาจจะไม่ใช่เจ้าของที่ดินและที่ดินอาจจะเป็นที่หวงห้าม ที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินก็อาจเป็น ได้ การซื้อขายที่ดินที่มีเพียง ภ.บ.ท.5 จึงเป็นการเสี่ยงภัยของผู้ซื้อ หากท่านจะซื้อที่ดินที่มีหลักฐาน ภ.บ.ท.5 ให้ยื่นคำขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินเพื่อพิสูจน์ สิทธิก่อนว่าสามารถออกเอกสารสิทธิได้หรือไม่ หากท่านต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการนำ ภ.บ.ท.5 ไปออกโฉนดที่ดิน ขอให้สอบถามที่สำนักงานที่ดินทุกแห่ง

ภ.บ.ท. คืออะไร แล้วสามารถซื้อที่ดินที่มีใบ ภ.บ.ท.5 ได้หรือไม่?
ภ.บ.ท.5 เป็นเพียงแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีท้องที่ไม่ใช่เอกสารสิทธิตามประมวล กฎหมายที่ดิน บุคคลที่มีชื่อใน ภ.บ.ท.5 อาจจะไม่ใช่เจ้าของที่ดินและที่ดินอาจจะเป็นที่หวงห้าม ที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินก็อาจเป็น ได้ การซื้อขายที่ดินที่มีเพียง ภ.บ.ท.5 จึงเป็นการเสี่ยงภัยของผู้ซื้อ หากท่านจะซื้อที่ดินที่มีหลักฐาน ภ.บ.ท.5 ให้ยื่นคำขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินเพื่อพิสูจน์ สิทธิก่อนว่าสามารถออกเอกสารสิทธิได้หรือไม่ หากท่านต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการนำ ภ.บ.ท.5 ไปออกโฉนดที่ดิน ขอให้สอบถามที่สำนักงานที่ดินทุกแห่ง

ที่มา:  กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย

ใบระวาง เลขที่ดิน หน้าสำรวจ คืออะไร?

 ที่มา:  กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย
  • ใบระวาง คือเอกสารหลักฐานทางแผนที่บรรจุรูปแผนที่โฉนดที่ดินเพื่อแสดงตำแหน่งที่ตั้ง ของที่ดินแต่ละแปลงอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร รูปแผนที่จะมีขนาดใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับมาตราส่วนที่ใช้กับระวางนั้นๆ เช่น มาตราส่วน 1: 4000 รูปแผนที่จะมีขนาดเล็กกว่า 1: 2000 หรือ 1: 1000 เป็นต้น ระวางบางประเภทจะใช้กับรูปแผนที่ น.ส.3ก. วัตถุประสงค์ก็เพื่อแสดงตำแหน่งที่ตั้งของที่ดิน เช่นกัน ประโยชน์ของระวางใช้เพื่อควบคุมแผนที่รูปแปลงที่ดินที่มีกรรมสิทะ (โฉนดที่ดิน) หรือหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินชนิด น.ส.3ก. ขึ้นอยู่กับประเภทของระวางที่จัดสร้างขึ้นคือหนังสือที่ทางราชการออกให้ เพื่อเป็นการแสดงความยินยอมให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นการชั่วคราว ซึ่งรัฐออกให้แก่บุคคลผู้ประสงค์จะได้ที่ดิน ของรัฐเป็นของตน โดยบุคคลผู้นั้นได้เสนอความต้องการของตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรก็จะอนุญาตให้เข้าครอบครองที่ดิน และออกใบจองให้ไว้เป็นหลักฐาน
  • เลขที่ดิน หมายถึง เครื่องหมายแสดงตำแหน่งของที่ดินที่บรรจุอยู่ในระวางเดียวกัน
  • หน้าสำรวจ หมายถึง เครื่องหมายแสดงแปลงที่ดิน ที่ทางราชการได้ทำการสอบสวนตามลำดับก่อนและหลังเพื่อการออกโฉนดที่ดิน