วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

GIS กับ ระบบฐานข้อมูล

 ที่มา http://www.resgat.net/modules.php?name=News&file=article&sid=32
 
อันที่จริง ระบบ GIS เป็นฐานข้อมูลหรือ Database ชนิดหนึ่ง แต่เป็นฐานข้อมูลที่เกิดขึ้นมาชนิดที่เป็นฐานข้อมูลที่รวมข้อมูลประเภทข้อความและข้อมูลภาพหรือ graphic เข้าไปด้วย ซึ่งต่างจากระบบฐานข้อมูลทั่วไปเพราะในสมัยนั้นคำว่า ฐานข้อมูลหมายถึงข้อมูลที่เป็นตัวอักษรหรือตัวเลขแต่เพียงอย่างเดียว

ฉะนั้นในห้วงแรกเมื่อระบบ GIS เกิดขึ้นมาจึงต้องมีการเขียน Function เพื่อจัดการด้าน Graphic พร้อมๆกับการจัดการระบบระบบฐานข้อมูล ทำให้ผู้ที่ได้ใช้ระบบ GIS ในสมัยแรกต้องเรียนรู้ คำสั่งด้านการจัดการ GIS พร้อมๆกับคำสั่งด้านการจัดการฐานข้อมูลไปด้วย

ในปัจจุบันแนวความคิดที่จะนำระบบ GIS เข้าสู่ฐานข้อมูลอย่างเต็มตัวได้ปลุกกระแสให้ ผู้พัฒนาระบบฐานข้อมูลดังๆ อย่าง Oracle สนใจที่จะนำข้อมูล GIS เข้าสู่ในระบบฐานข้อมูลของตน จึงก่อให้เกิด ฐานข้อมูลประเภทใหม่ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลประเภท Graphic ได้หรือที่เรียกว่า object-relational database ขึ้นมา

เมื่อข้อมูล GIS เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลที่เป็น object-relational database สิ่งที่ได้ตามมาก็คือ ความปลอดภัย การจัดการอย่างมีระบบและการทำงานแบบหลายผู้ใช้ ตามแบบอย่างระบบฐานข้อมูลทั่วไป

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของการนำเอาข้อมูล GIS เข้าสู่ระบบฐานข้อมูล object-relational database ก็คือเราสามารถจัดการกับข้อมูลโดยใช้คำสั่งที่เรียกว่า SQL หรือ Structure query language ซึ่งเป็นภาษาที่มีประสิทธิภาพมากและเป็นภาษาในยุคที่ 4 ได้

นั่นคือเราสามารถจะใช้คำสั่ง SQL ในการสืบค้น การวิเคราะห์ การจัดการข้อมูล ของข้อมูล GIS ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย ในแง่ความเป็นมาตรฐานของการจัดการข้อมูล

แล้วเราจะลองใช้ ระบบฐานข้อมูล GIS ที่เป็นฐานข้อมูลจริงๆได้อย่างไรล่ะครับ นี่คงเป็นคำถามของผู้ที่อ่านมาถึงตรงนี้ ก็ขอตอบเลยว่า เราสามารถใช้ freeware ที่ชื่อว่า PostGIS ครับโดยที่ PostGIS จะทำงานร่วมกับระบบฐานข้อมูลที่เป็น object-relational database ของ PostgreSQL (ซึ่งก็เป็นระบบฐานข้อมูลประเภท OpenSource เช่นเดียวกับ MySQL ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูล OpenSourceยอดนิยมใน Internetครับ) โดยที่ PostGIS จะทำให้เราสามารถใช้คำสั่ง SQL จัดการกับข้อมูล GIS บน PostgreSQL ได้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น