วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ขั้นตอนจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน

ที่มา:http://techforlocal.wordpress.com/2011/08/01/ctm/
ขั้นตอนจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
  1. ให้เริ่มต้นจากการทำข้อมูลทะเบียนทรัพย์สินเป็นอันดับแรก โดยจากการจัดทำข้อมูลทะเบียนทรัพย์สินที่มีอยู่(เฉพาะข้อมูลที่เก็บภาษีอยู่ ในปัจจุบัน)ให้มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เช่นการจัดเก็บและรวบรวมเอกสารต่างๆ ให้สมบูรณ์ เช่น สำเนาเอกสารสิทธิ์ที่ดิน และสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้าน ในกรณีของภาษีบำรุงท้องที่ และรายละเอียดประเภทโรงเรือน การใช้ประโยชน์โรงเรือน และขนาดพื้นที่ ในกรณีภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นต้น
  2. จัดหาโปรแกรมบริหารจัดการทะเบียนทรัพย์สินเพื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น L-Tax, …
ในขั้นตอนการจัดทำข้อมูลภาษีบำรุงท้องที่เริ่มต้นจากขบวนการ จัดเก็บข้อมูลจากเจ้าของแปลงที่ดิน ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดที่สุด โดยเก็บในระหว่างที่มีการยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน(ภ.บ.ท.5) ซึ่งเจ้าของที่ดินจะต้องยื่นทุก 4 ปีซึ่งจะครบกำหนดต้องยื่นในปี 2553 นี้ โดยในการยื่นแบบ ภ.บ.ท.5 ที่ถูกต้องนั้นจะต้องยื่นสำเนาเอกสารสิทธิ์ที่ดิน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของด้วย เพื่อตรวจสอบเอกสารว่าถูกต้องหรือไม่ และจะต้องยื่นทุกคนที่เป็นเจ้าของแปลงที่ดินในพื้นที่ไม่ว่าจะต้องเสียภาษี หรือไม่
ปัญหาการบันทึกข้อมูลทะเบียนทรัพย์สิน
ในกรณีที่จัดทำทะเบียนทรัพย์สินก่อนแผนที่ภาษี เราจะไม่ทราบรหัสทรัพย์สิน(เขต/เขตย่อย/ลำดับแปลง)ของแต่ละทรัพย์สินที่จะ ใช้ในการบันทึกข้อมูล แนวทางการแก้ไขคือให้จำลองรหัสขึ้นมาโดยข้ามรหัสที่จะมีการใช้งานในอนาคต เช่นถ้าเราสามารถแบ่งเขตได้เป็น 01-09 ก็ให้ข้ามรหัสดังกล่าวโดยการใช้ 11-19 แทน เป็นต้น เพื่อในอนาคตพอเราสามารถจัดทำแผนที่ได้สำเร็จ เราก็เพียงแต่แก้ไขรหัสทรัพย์สินเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น