ที่มา:http://solarwato.com/index.php/joomla-license
ความคิดเห็นจากช่างโหน่งครับ แบตเตอรี่เป็นตัวสะสมพลังงาน โซล่าเซลเป็นตัวประจุแบต มีแบตหลายชนิดที่จะนำมาประจุเก็บสะสมไฟไว้ใช้ หลายท่านยังคงสับสนที่จะเลือกตัวใหนดี ท่านที่มีเงินมากหน่อยก็เลือกแพงเข้าไว้(ของดีราคาถูกไม่มี)เข้าล๊อกของ ฝรั่งเลย แต่สำหรับชาวบ้านเราที่หาซื้อได้อย่างดีก็แบตที่ใช้กับรถยนต์ เปรียบเทียบราคาแบตรถยนต์ 150แอมป์ราคาอยู่ที่4,500บาท แบตแบบพิเศษสำหรับโซล่าเซล(Deep Cycle)ราคา5,500 ต่างกันอยู่1,000บาท แล้วใครจะเลือกซื้อของแพง(นอกจากพวกเรียนจบสูง)ชาวบ้าน100%ต้องเลือกซื้อแบ ตธรรมดา ช่างโหน่งเองก็ข้องใจมันต่างกันตรงไหนทั้งๆที่ก็เติมน้ำกรดแบบเดียวกัน จึงไปผ่าพิสูจน์ให้หายข้องใจ(ยังกะนิติเวช) เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าแผ่นตะกั่วจะมากกว่าหนากว่าแบตแบบธรรมดาไม่ได้ มีอะไรพิเศษนอกเหนือกับแบตธรรมดา ย่อมแน่นอนตะกั่วมากก็เก็บไฟได้มาก ราคาก็แพงเป็นธรรมดา สรุปว่าไม่มีอะไรที่แตกต่างกับแบตแบบตะกั่วกรดเลย(แหกตาเรา) เมื่อทราบดังนี้ช่างโหน่งจึงหันมาพัฒนาระบบชาร์จไฟจากโซล่าเซลเข้าแบตแบบ ตะกั่วกรดโดยเฉพาะ และไม่หันไปใช้แบตแบบDeep Cycle อีกเลย ประหยัดเงินตั้งเป็นพัน แล้วท่านจะเลือกใช้แบตแบบใหน? ส่วนช่างโหน่งเลือกที่จะใช้แบตแบบตะกั่วกรดของรถยนต์ทั้งนี้เพราะต้องการ กระแสมากในตอนใช้งาน เช่นงานกับเครื่องสูบน้ำ,เครื่องทำความเย็น งานเหล่านี้เวลาเครื่องสตาร์ทจะกินกระแสอยู่ประมาณ10-30แอมป์ดีซี หรือ3แอมป์เอซี แบบนี้ที่เราต้องการ แม้แบตจะใช้ได้เพียง20% แต่เราไปจำกัดที่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟน้อย เช่นทีวีก็ใช้ที่วีขนาดเล็ก15นิ้วLCDกินไฟแค่1แอมป์ดีซี มันก็เป็นทางออกทางหนึ่งที่ไม่ต้องใช้แบตแบบ Deep Cycle ชาวบ้านเห็นราคาแล้วไม่กล้าควักเงินซิ้อ มันก็ใช้ได้เหมือนกันในตอนแรก ส่วนในอนาคตค่อยว่ากันใหม่ นี้คือนิสัยของคนไทย ด้วยเหตุนี้ช่างโหน่งจึงมีงานทำตลอด นำเอาเทคโนโลยี่ของฝรั่งมาดัดแปลงใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย ลูกค้าเองก็เข้าใจกับการใช้งาน เพราะฉะนั้น ก็ถนัดใครถนัดมันจะมาตำหนิกันไม่ได้ครับ ขอให้หาเงินได้ก็พอ ส่วนระบบชาร์จเราออกแบบการชาร์ทแบบรุนแรงสามารถจ่ายกระแสได้มากกว่า300แอมป์ หรือต้องการมากกว่านั้นก็ได้ แบตตะกั่วกรดนี้มันชอบความรุนแรง จะเอาระบบชาร์ทของแบตแบบDeep cycle มาใช้พังไปหลายตัวแล้ว เราจึงออกแบบระบบชาร์ทเองไม่มีอุปกรณ์ที่สับซ้อน การใช้งานจึงทนทาน เราจึงกล้ารับประกันถึง 5 ปี ดังนั้นท่านจะเลือกใช้แบตแบบใหนดีลองตัดสินใจดู งานจะสำเร็จขึ้นอยู่กับการทดลอง ทฤษฎีเป็นเพียงแนวทางอาจจะดีหรือไม่ดียังไงก็ต้องทดลองอยู่ดี อย่าเพียงแต่คิดแล้วเฉย ขอให้ประสบผลสำเร็จครับ
วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557
WDS Bridge / WDS / Client Bridge
ที่มา:http://www.sla.in.th/ask-question/4-article-zone/12--wdswds-bridgebridge-engenius
WDS Bridge Mode ดาวน์โหลดคู่มือการตั้งค่า
คือ การกระจายสัญญาณ Wireless จากจุดที่ 1 ไปยังจุดที่ 2 โดยทั้ง 2 จุดไม่สามารถใช้ระบบสัญญาณ Wireless ได้ ดังรูป
WDS Mode ดาวน์โหลดคู่มือการตั้งค่า
คือ การกระจายสัญญาณ Wireless จากจุดที่ 1 ไปยังจุดที่ 2 โดยทั้ง 2 จุดยังสามารถใช้ระบบสัญญาณ Wireless ได้ ดังรูป
Client Bridge Mode ดาวน์โหลดคู่มือการตั้งค่า
การกระจายสัญญาณ Wireless จากจุดที่ 1 ไปยังจุดที่ 2 โดย จุดที่ 1 ยังสามารถใช้ระบบสัญญาณ Wireless ได้ แต่จุดที่ 2 ไม่สามารถกระจายสัญญาณ Wireless ได้เหมือนจุดที่ 1 ดังรูป
WDS Bridge Mode ดาวน์โหลดคู่มือการตั้งค่า
คือ การกระจายสัญญาณ Wireless จากจุดที่ 1 ไปยังจุดที่ 2 โดยทั้ง 2 จุดไม่สามารถใช้ระบบสัญญาณ Wireless ได้ ดังรูป
WDS Mode ดาวน์โหลดคู่มือการตั้งค่า
คือ การกระจายสัญญาณ Wireless จากจุดที่ 1 ไปยังจุดที่ 2 โดยทั้ง 2 จุดยังสามารถใช้ระบบสัญญาณ Wireless ได้ ดังรูป
Client Bridge Mode ดาวน์โหลดคู่มือการตั้งค่า
การกระจายสัญญาณ Wireless จากจุดที่ 1 ไปยังจุดที่ 2 โดย จุดที่ 1 ยังสามารถใช้ระบบสัญญาณ Wireless ได้ แต่จุดที่ 2 ไม่สามารถกระจายสัญญาณ Wireless ได้เหมือนจุดที่ 1 ดังรูป
วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557
Wi-Fi Hotspot คืออะไร?
Wi-Fi Hotspot เป็นการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สายที่กำลังได้รับความนิยม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่พักอาศัย หมู่บ้าน คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนต์ โรงแรม รีสอร์ท ออฟฟิศสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า ร้านกาแฟ หรือแม้แต่ร้านอาหารต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถเพิ่มมูลค่าธุรกิจของตนเองให้มีความได้ เปรียบเหนือคู่แข่ง สามารถสร้างรายเพิ่มเติมให้แก่ธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการอีกด้วย
ด้วยระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายปรกตินั้น จะไม่สามารถควบคุมเวลา (Time usage) ความเร็วของการใช้งาน (Internet Speed) รวมไปถึงไม่สามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้ใช้งานได้ ทางเราจึงได้พัฒนาระบบ WiFi Hotspot ให้คุณสามารถเป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย ได้ ณ สถานที่ของคุณ ลูกค้าของคุณสามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สายได้อย่างสะดวกและง่ายดาย เพียงเชื่อมต่ออุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ากับสัญญาณ Wi-Fi ของท่าน ระบบจะขึ้นหน้าจอให้ป้อนรหัสผ่านจากทางหน้าเว็บเพื่อป้องกันการใช้งานโดยไม่ ได้รับอนุญาตคุณสมบัติเบื้องต้นของ WiFi Hotspot
- ป้องกันการแอบใช้งานอินเตอร์เน็ต
- จัดสรรแบนวิธ ให้ได้ความเร็วเท่ากันทุกเครื่อง
- จำกัดความเร็วในการดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆได้
- จำกัดความเร็วในการโหลดบิทได้
- ป้องกันการล็อกอินซ้ำ
- สร้างบัตรเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายเดือน หรือแบบ รายปี
- สามารถเก็บ Log File ได้
- ทำระบบ Load Balance ได้
- ระบบสามารถ Log Out โดยอัตโนมัติ หากลูกค้าลืมออกจากระบบ
คำถามสุดฮิต ยากทำ WIFI HOTSPOT มันผิดกฏหมายเรื่องคลื่นหรือเปล่า
สวัสดีครับ วันนี้ก็มาเปิดประเด็นอธิบายกันให้หายสงสัยไปกับคำถามที่ผมเจอบ่อยๆคือ ถ้าทำ WIFI HOTSPOT แล้ว จะโดนจับไหม
ขอท้าวความไปถึงเรื่องคลื่นก่อนแล้วกันครับ บ้านเราคลื่น 5ghz กับ 2.4 เป็นคลื่นฟรีนะครับไม่ต้องขออนุญาติ แต่ว่าถ้าจะนำคลื่นมาใช้ในเชิงพาณิชย์หรือให้บริการแก่สาธารณ ต้องขออนุญาตกับ กสทช ครับ แต่ กฏหมายก็ยังออกไม่แน่ไม่นอน ขาวๆ เทาๆ อยู่นั่นแหละ ซึ่งท่านสามารถจดได้ครับ ซึ่งราคาค่าธรรมเนียมก็ยังไม่แน่ชัด ขนาดเว็บ กสทช ก็ยังไม่เปิดออกมาเลยครับ
อ้างอิงเว็บนี้ครับ http://www.nbtc.go.th/wps/portal/NTC/TCBusLicApp/TCBusLicApp
สำหรับผู้ที่ต้องการให้บริการ WIFI จะอยู่ในใบอนุญาติ อินเตอร์เน็ตประเภท 3 คลิ๊กดูจะยังไม่มีรายละเอียดค่าธรรมเนียมครับ มันก็น่าจะราวๆ 35000 ต่อ 10 ปี แต่ว่า เราหาคนหุ้นด้วยแล้วใช้ใบอนุญาตเดียวกันได้ แต่ว่ามันก็คงไม่คุ้มกับการเริ่ม ซึ่งผมแนะนำ step ดังนี้ครับ
ทำ wifi ไปเลย ให้บริการไปเลย แค่อย่าไปชนหรือไปกระทบ tot 3bb อะไรก็พอ ถ้าทำแล้วไม่รุ่งก็ไม่เสียหลายครับ
ถ้ารุ่งขึ้นมาขยาย 7-8 หมู่บ้าน อำเภอ หลายที่ ออนไลน์เป็นร้อยๆ เงินมาทีหลายหมื่น แนะนำเลยครับ ไปขอใบอนุญาติซะ มีเงินแล้วตอนนี้
ทีนี้ก็ สามารถทำ wifi ได้ทั่วประเทศโดยไม่ต้องกลัวใครมาฟ้องครับ ซึ่ง ต้องระวังนิดนึงเรื่องกำลังส่งตัว ap กฏหมายไม่ให้เกิน 100mw ครับ แต่ว่าถ้าเขาเเข้มงวดจริงๆจังๆ ผมว่า คุกล้นครับ สินค้าที่นำเข้ามาขายในไทยที่มีตามตลาดเกินทั้งนั้น แต่มันปรับให้ไม่เกินได้ เวลาเขามาตรวจ
ขอท้าวความไปถึงเรื่องคลื่นก่อนแล้วกันครับ บ้านเราคลื่น 5ghz กับ 2.4 เป็นคลื่นฟรีนะครับไม่ต้องขออนุญาติ แต่ว่าถ้าจะนำคลื่นมาใช้ในเชิงพาณิชย์หรือให้บริการแก่สาธารณ ต้องขออนุญาตกับ กสทช ครับ แต่ กฏหมายก็ยังออกไม่แน่ไม่นอน ขาวๆ เทาๆ อยู่นั่นแหละ ซึ่งท่านสามารถจดได้ครับ ซึ่งราคาค่าธรรมเนียมก็ยังไม่แน่ชัด ขนาดเว็บ กสทช ก็ยังไม่เปิดออกมาเลยครับ
อ้างอิงเว็บนี้ครับ http://www.nbtc.go.th/wps/portal/NTC/TCBusLicApp/TCBusLicApp
สำหรับผู้ที่ต้องการให้บริการ WIFI จะอยู่ในใบอนุญาติ อินเตอร์เน็ตประเภท 3 คลิ๊กดูจะยังไม่มีรายละเอียดค่าธรรมเนียมครับ มันก็น่าจะราวๆ 35000 ต่อ 10 ปี แต่ว่า เราหาคนหุ้นด้วยแล้วใช้ใบอนุญาตเดียวกันได้ แต่ว่ามันก็คงไม่คุ้มกับการเริ่ม ซึ่งผมแนะนำ step ดังนี้ครับ
ทำ wifi ไปเลย ให้บริการไปเลย แค่อย่าไปชนหรือไปกระทบ tot 3bb อะไรก็พอ ถ้าทำแล้วไม่รุ่งก็ไม่เสียหลายครับ
ถ้ารุ่งขึ้นมาขยาย 7-8 หมู่บ้าน อำเภอ หลายที่ ออนไลน์เป็นร้อยๆ เงินมาทีหลายหมื่น แนะนำเลยครับ ไปขอใบอนุญาติซะ มีเงินแล้วตอนนี้
ทีนี้ก็ สามารถทำ wifi ได้ทั่วประเทศโดยไม่ต้องกลัวใครมาฟ้องครับ ซึ่ง ต้องระวังนิดนึงเรื่องกำลังส่งตัว ap กฏหมายไม่ให้เกิน 100mw ครับ แต่ว่าถ้าเขาเเข้มงวดจริงๆจังๆ ผมว่า คุกล้นครับ สินค้าที่นำเข้ามาขายในไทยที่มีตามตลาดเกินทั้งนั้น แต่มันปรับให้ไม่เกินได้ เวลาเขามาตรวจ
Wifi Hotspot ระยะการส่งไปไกลขนาดไหน?
อุปกรณ์ที่เราใช้ส่งสามารถส่งได้ 10 กม. ก็จริง แต่โน๊ตบุ๊คสามารถรับ-ส่งสัญญาณได้ 200-300 เมตร พวกมือถือก็ประมาณ 100-200 เมตร คุณอาจจะสงสัยว่า "เอะ! ทำไมบอกว่าส่งสัญญาณได้ 10 กม.ไง " NanoStation M2 สามารถส่งสัญญาณไปถึงโน๊ตบุ๊ค หรือมือถือที่อยู่ห่างออกไปไกลได้ แต่โน็ตบุ๊คหรือมือถือนั้นไม่สามารถส่งสัญญาณกลับมาหานั้นเอง ดูรูปด่านล่าง
เพิ่มคำอธิบายภาพ |
(การส่งสัญญาณจะส่งทั้งไปและกลับ)
ระยะการเจอสัญญาณของอุปกรณ์แต่ละชนิด ดังรูป
จากภาพด้านบน
- มือถือระยะการเจอสัญญาณ Wifi จะอยู่ที่ 100 - 200 เมตร
- โน๊ตบุ๊คระยะการเจอสัญญาณ Wifi จะอยู่ที่ 300 - 400 เมตร
- บ้านลูกค้าที่อยู่ไกล 400-500 เมตร หากสัญญาณน้อยหรือไม่มีสัญญาณ ให้ลูกค้าซื้อ Usb Wifi มาใช้ครับ ใช้ได้ทั้งโน๊ตบุ๊ค และเครื่อง PC ราคาก็ตั้งแต่ 400 ไปจนถึงหลายพัน ขึ้นอยู่กับยี่ห้อสเปก
- หากบ้านลูกค้าที่อยู่หาออกไป 1-2 กม. เราก็เสนอให้ลูกค้าซื้อ NanoStation Loco M2 ติดครับ โดยมีข้อแม้ว่าไม่ให้เค้าถอดปลั๊ก เพื่อที่เราจะได้ตั้งค่าเครื่องเป็น Repeater(เครื่องทวนสัญญาณ) เพื่อกระจายสัญญาณไปอีกต่อหนึ่ง ทำให้เรากระจายสัญญาณ Wifi ออกไปอีกโดยไม่ต้องลงทุน
Wifi Hotspot ต่างจาก Wifi ธรรมดาที่ใช้ตามบ้านทั่วไปอย่างไร?
Wifi ทั่วไป
- กำหนด User ใช้งานไม่ได้ ต้องป้องกันด้วยการใส่ Key
- เก็บเงินยาก ลูกค้านำ Key ไปแจกจ่ายัน
- แฮกได้ง่าย
- เก็บ Log ไฟล์ยากหรือแทบเก็บไม่ได้เลย
- ไม่สามารถกำหนดเวลาได้
- ลูกค้าไม่มีข้อมูลที่จะติดต่อเราได้
Wifi Hotspot
- สามารถกำหนด User ใช้งานได้ 1 User เข้าได้ 1 เครื่อง
- สามารถออกคูปองขายเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายเดือนได้
- เก็บเงินง่าย ไม่ต้องไปตามเก็บจากลูกค้า ลูกค้าจะมาหาเอง
- ส่วนมากมีระบบเก็บ Log ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์
- สามารถใส่ข้อมูลการติดต่อของเราไว้ที่หน้าล็อคอินได้ ลูกค้าติดต่อเราง่ายขึ้น
- จำกัดความเร็ว Block เว็บไม่พึงประสงค์ Block Bittorrent ได้
คุณคิดอย่างไรกับ Hotspot นะตอนนี้ ยิ่ง 3G มาเป็นคู่แข็งอย่างเต็มรูปแบบ
ที่มา:http://www.wifi-th.com/relax/hotspot-3g/
1.เส้นอาชืพ Hotspot ยังคงอยู่บนถนนอีกนาน
2.การรับข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ + ทำมาประยุกต์ใช้ ทำให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ
3.การลงทุนที่ดี ควรลงทุนหลายๆอย่างเพื่อลดความเสี่ยง
4.การก้าวช้าๆ ทำให้มั่นคง แต่จะไม่ทันคนอื่น ก้าวเร็วเกินไปก็อาจสะดุดได้ อะไรที่พอดีๆ ดีที่สุด
5.ลูกค้าต้องมาก่อนเสมอ ความใจกว้าง+ใจเย็นคือสิ่งสำคัญ เพราะลูกค้าเข้ามาทุกรูปแบบ
( การลงทุนทำอะไรบ้างครั้ง ต้องอาศัยระยะเวลาและจังหวะ เพราะไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ ถ้าเราไม่พยายาม+แสวงหา )
1.เส้นอาชืพ Hotspot ยังคงอยู่บนถนนอีกนาน
2.การรับข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ + ทำมาประยุกต์ใช้ ทำให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ
3.การลงทุนที่ดี ควรลงทุนหลายๆอย่างเพื่อลดความเสี่ยง
4.การก้าวช้าๆ ทำให้มั่นคง แต่จะไม่ทันคนอื่น ก้าวเร็วเกินไปก็อาจสะดุดได้ อะไรที่พอดีๆ ดีที่สุด
5.ลูกค้าต้องมาก่อนเสมอ ความใจกว้าง+ใจเย็นคือสิ่งสำคัญ เพราะลูกค้าเข้ามาทุกรูปแบบ
( การลงทุนทำอะไรบ้างครั้ง ต้องอาศัยระยะเวลาและจังหวะ เพราะไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ ถ้าเราไม่พยายาม+แสวงหา )
กฏหมายน่ารู้ สำหรับคนทำ wifi hotspot
1. กรณีตั้งเสาสูงไม่เกิน 30 เมตร ไม่ต้องขออนุญาติ กสช. เพราะกฏหมายอนุญาติ ที่ความสูงไม่เกิน 30 เมตร หากเกินนั้นต้องขอใบอนุญาติ
2. กรณีใช้กระจายสัญาณในหมู่บ้าน หรือชุมชน ความความถี่ของอุปกรณ์ กระจายสัญญาณระบุที่ 2.4 Ghz และ 5 Ghz เป็นคลื่นความถี่ที่ได้รับการยกเว้นเช่นกัน ไม่ต้องขออนุญาติ แต่สัญญาณต้องไม่ไปรบกวนครัย
อัพเดรทข้อมูลนิดนึง
ถ้าเอาตามจริง ๆ กำลังส่งขอตัวเครื่องรวมกำลังส่งเสาส่งห้ามเกิน 100 mw -*- จะเป็นไปได้หรือครับ แค่ ap ของ dlink ตัวถูก ๆ + เสา 2 dbi มันก็เกือบจะ 100 mw อยู่ละ
แต่ก็ไม่มีใครเอาจริงเอาจรังครับ เพราะเครื่องวัด dbm ย่านความถี่สูง ๆ ของราชการไม่มี จะมาไล่จับก็แต่พวกวอแดงวอเถื่อนความถี่ต่ำ ๆ
ตอนนี้หลวงก็หาช่องทางเก็บภาษีจนได้คือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จดทะเบียนกับส่วนบริหารท้องถิ่นระแวกนั้น ๆ กฏหมายว่าด้วยการให้บริการ เครือค่ายคอมพิวเตอร์(wifi) จะมีหรือไม่มีสัญญาณ internet มาด้วยหรือไม่ ก็ต้องเสีย เสียที่เดียวครั้งเดียวจบครับ ไม่ต้องยุ่งกับ กสทช. เลย
เรื่องเสาส่งเหมือนกันครับ ถ้าสูงเกิน 20 เมตร แต่ไม่เกิน 30 เมตร ให้ขอที่ส่วนบริหารท้อนถิ่นเหมือนกันครับ โดยให้ช่างโยธามาตรวจสอบสถานที่ เพราะมันถือเป็นสิ่งก่อสร้าง ถ้าเขาเซนต์ผ่านเราก็เสียภาษีคร้าย ๆ กับ ภาษีโรวเรือนครับ ไม่แพง
หากตั้งแต่ 30 - 45 เมตร ท่านต้องมีแบบก่อสร้าง และให้วิศวกรเซต์ จากนั้นไปขออนุญาติที่ อบจ. ครับ กฏหมายมันพัวพันกันมั่ว คิดแค่ว่ามันเป็นเสาเฉย ๆ ก็แค่สิ่งก่อสร้างครับ กสทช. ทำไรเราไม่ได้อยู่แล้ว พอเราจะทำเครือข่าย wifi เราก็ขออนุญาติประกอบการ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จบ ครับ จบที อบจ. ที่เดียวเลย
2. กรณีใช้กระจายสัญาณในหมู่บ้าน หรือชุมชน ความความถี่ของอุปกรณ์ กระจายสัญญาณระบุที่ 2.4 Ghz และ 5 Ghz เป็นคลื่นความถี่ที่ได้รับการยกเว้นเช่นกัน ไม่ต้องขออนุญาติ แต่สัญญาณต้องไม่ไปรบกวนครัย
อัพเดรทข้อมูลนิดนึง
ถ้าเอาตามจริง ๆ กำลังส่งขอตัวเครื่องรวมกำลังส่งเสาส่งห้ามเกิน 100 mw -*- จะเป็นไปได้หรือครับ แค่ ap ของ dlink ตัวถูก ๆ + เสา 2 dbi มันก็เกือบจะ 100 mw อยู่ละ
แต่ก็ไม่มีใครเอาจริงเอาจรังครับ เพราะเครื่องวัด dbm ย่านความถี่สูง ๆ ของราชการไม่มี จะมาไล่จับก็แต่พวกวอแดงวอเถื่อนความถี่ต่ำ ๆ
ตอนนี้หลวงก็หาช่องทางเก็บภาษีจนได้คือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จดทะเบียนกับส่วนบริหารท้องถิ่นระแวกนั้น ๆ กฏหมายว่าด้วยการให้บริการ เครือค่ายคอมพิวเตอร์(wifi) จะมีหรือไม่มีสัญญาณ internet มาด้วยหรือไม่ ก็ต้องเสีย เสียที่เดียวครั้งเดียวจบครับ ไม่ต้องยุ่งกับ กสทช. เลย
เรื่องเสาส่งเหมือนกันครับ ถ้าสูงเกิน 20 เมตร แต่ไม่เกิน 30 เมตร ให้ขอที่ส่วนบริหารท้อนถิ่นเหมือนกันครับ โดยให้ช่างโยธามาตรวจสอบสถานที่ เพราะมันถือเป็นสิ่งก่อสร้าง ถ้าเขาเซนต์ผ่านเราก็เสียภาษีคร้าย ๆ กับ ภาษีโรวเรือนครับ ไม่แพง
หากตั้งแต่ 30 - 45 เมตร ท่านต้องมีแบบก่อสร้าง และให้วิศวกรเซต์ จากนั้นไปขออนุญาติที่ อบจ. ครับ กฏหมายมันพัวพันกันมั่ว คิดแค่ว่ามันเป็นเสาเฉย ๆ ก็แค่สิ่งก่อสร้างครับ กสทช. ทำไรเราไม่ได้อยู่แล้ว พอเราจะทำเครือข่าย wifi เราก็ขออนุญาติประกอบการ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จบ ครับ จบที อบจ. ที่เดียวเลย
มาทำ WIFI ชุมชนกันเถอะ
มาทำ WIFI ชุมชนกันเถอะ [ที่มา :http://www.satteams.com/read.php?tid-7110.html]
เนื่องจากปัจจุบันการติดตั้ง อินเตอร์เน็ต เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นมาก และมีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนเรามาขึ้นทุกวัน ดังนั้น การให้ชุมชนเข้าถึงอินเตอร์เน็ต จึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่ถ้าจะให้ลาก สายไปคงจะลำบาก เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง บทความนี้จึงหยิบยกเรื่อง การกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตโดยใช้ WIFI เป็นหลัก
WIFI ที่ทาง กสทช อนุญาติ ให้ใช้ มีอยู่ 2 ย่านความถี่ คือ 2.4 Ghz และ 5Ghz สามารถนำไปใช้โดยไม่ต้องขออนุญาติ
แล้ว 2.4 Ghz กับ 5 Ghz ต่างกันอย่างไร ล่ะ?
แน่นอนเรื่องระยะทาง ที่อัตราการขยายเท่ากัน 2.4 ghz จะส่งไปได้ไกลกว่า 5 Ghz และยังสามารถทะลุสิ่งกีดขวางได้่ดีกว่า แต่เนื่องจาก 2.4 ghz นั้น มีช่องสัญญาณในการใช้งานน้อยกว่า 5 ghz ค่อนข้างมาก ซึ่งมีเพียง 11 ช่อง สัญญาณ รวมถึง การใช้งาน ในปัจจุบัน คลื่น 2.4 มีคนใช้งานค่อนข้างมาก ทำให้ ช่องสัญญาณเกิดการชนกัน มีผลต่อความเร็วในการใช้งาน อินเตอร์เน็ต ผิดกับ ความถี่ 5Ghz ซึ่งมีช่องสัญญาณ รวมถึงแบนวิดท์ที่มากกว่า ทำให้โอกาสในการชนกัน ของสัญญาณมีน้อยกว่า
จึงทำให้ได้ความเร็วในการใช้งานดีกว่า ที่กล่าวมานี้เป็นเพียง ข้อดี ข้อเสีย ของ 2 ความถี่นี้ ยังมีปัจจัยต่างๆอีกมาก แต่ผมจะค่อย อัพเดตไปเรื่อย เพื่อเป็นความรู้ ต่อไป
ต่อไปจะกล่าวถึง การติดตั้ง
รูปแบบการติดตั้งเสาส่งสัญญาณ WIFI (Base Sation)เสาสูงมากเท่าไหร่สัญญาณจะไปได้ไกล มากเท่านั้น 20 เมตร ขึ้นไปจะดี เนื่องจากไม่มี ต้นไม้มาบัง
Omidirectional
1.แบบเสา 360 องศา (Omi) แบบนี้จะส่งได้ในระยะไม่เกิน 1-2 km เป็นวงกลม สัญญาณจะแรงในระยะ400-500เมตร หลังจากนั้นต้องใช้ตัวรับที่มีกำลังสูง ในการรับสัญญาณช่วย
Panel directional
2.แบบเสา 120 องศา ลักษณะนี้จะเหมือนการตั้งเสาโทรศัพท์มือถือ นิยมตั้งกัน เนื่องจากสามารถส่งได้ไกล ที่ 3-5 KM
(เสาส่งจะต้องสูง) มีความคุ้มทุนสูง
ต่อไปมาดูระบบ การจัดการระบบอินเตอร์เน็ต(WIFI hotspot) กันครับ ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบ โดยทั่วไปจะแบ่ง เป็น2 แบบ
1.ใช้PC นำมาลงโปรแกรมการจัดระบบ (WIFI hotspot) ข้อดี ทำงานหนักได้ดีกว่าเหมาะกับระบบใหญ่ ข้อเสีย ราคาแพง กินไฟฟ้า มากกว่าซ่อมแพงกว่า
2.ใช้คุณสมบัติของเราเตอร์ (Router Broad) ข้อดี ราคาถูก ประหยัดไฟ ใช้งานง่าย
จากข้อดีเรื่องราคา และการใช้งาน ผมจึงเน้นมาทาง (Router Broad)
มาดูหน้าตาของ (Router Broad) กันครับ
Router Broad
เมื่อได้ทั้ง 2 อย่างมา ก็ขึ้นเสาส่งครับ
เสาส่ง
WIFI ที่ทาง กสทช อนุญาติ ให้ใช้ มีอยู่ 2 ย่านความถี่ คือ 2.4 Ghz และ 5Ghz สามารถนำไปใช้โดยไม่ต้องขออนุญาติ
แล้ว 2.4 Ghz กับ 5 Ghz ต่างกันอย่างไร ล่ะ?
แน่นอนเรื่องระยะทาง ที่อัตราการขยายเท่ากัน 2.4 ghz จะส่งไปได้ไกลกว่า 5 Ghz และยังสามารถทะลุสิ่งกีดขวางได้่ดีกว่า แต่เนื่องจาก 2.4 ghz นั้น มีช่องสัญญาณในการใช้งานน้อยกว่า 5 ghz ค่อนข้างมาก ซึ่งมีเพียง 11 ช่อง สัญญาณ รวมถึง การใช้งาน ในปัจจุบัน คลื่น 2.4 มีคนใช้งานค่อนข้างมาก ทำให้ ช่องสัญญาณเกิดการชนกัน มีผลต่อความเร็วในการใช้งาน อินเตอร์เน็ต ผิดกับ ความถี่ 5Ghz ซึ่งมีช่องสัญญาณ รวมถึงแบนวิดท์ที่มากกว่า ทำให้โอกาสในการชนกัน ของสัญญาณมีน้อยกว่า
จึงทำให้ได้ความเร็วในการใช้งานดีกว่า ที่กล่าวมานี้เป็นเพียง ข้อดี ข้อเสีย ของ 2 ความถี่นี้ ยังมีปัจจัยต่างๆอีกมาก แต่ผมจะค่อย อัพเดตไปเรื่อย เพื่อเป็นความรู้ ต่อไป
ต่อไปจะกล่าวถึง การติดตั้ง
รูปแบบการติดตั้งเสาส่งสัญญาณ WIFI (Base Sation)เสาสูงมากเท่าไหร่สัญญาณจะไปได้ไกล มากเท่านั้น 20 เมตร ขึ้นไปจะดี เนื่องจากไม่มี ต้นไม้มาบัง
Omidirectional
1.แบบเสา 360 องศา (Omi) แบบนี้จะส่งได้ในระยะไม่เกิน 1-2 km เป็นวงกลม สัญญาณจะแรงในระยะ400-500เมตร หลังจากนั้นต้องใช้ตัวรับที่มีกำลังสูง ในการรับสัญญาณช่วย
Panel directional
2.แบบเสา 120 องศา ลักษณะนี้จะเหมือนการตั้งเสาโทรศัพท์มือถือ นิยมตั้งกัน เนื่องจากสามารถส่งได้ไกล ที่ 3-5 KM
(เสาส่งจะต้องสูง) มีความคุ้มทุนสูง
ต่อไปมาดูระบบ การจัดการระบบอินเตอร์เน็ต(WIFI hotspot) กันครับ ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบ โดยทั่วไปจะแบ่ง เป็น2 แบบ
1.ใช้PC นำมาลงโปรแกรมการจัดระบบ (WIFI hotspot) ข้อดี ทำงานหนักได้ดีกว่าเหมาะกับระบบใหญ่ ข้อเสีย ราคาแพง กินไฟฟ้า มากกว่าซ่อมแพงกว่า
2.ใช้คุณสมบัติของเราเตอร์ (Router Broad) ข้อดี ราคาถูก ประหยัดไฟ ใช้งานง่าย
จากข้อดีเรื่องราคา และการใช้งาน ผมจึงเน้นมาทาง (Router Broad)
มาดูหน้าตาของ (Router Broad) กันครับ
Router Broad
เมื่อได้ทั้ง 2 อย่างมา ก็ขึ้นเสาส่งครับ
เสาส่ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)