วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Log File คืออะไร ทำไมต้องเก็บ

1. ถาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ตอบ พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป

2. ถาม ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ตอบ นั่นก็เพราะว่าทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งมีการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมิชอบโดยบุคคลใดๆ ก็ตามที่ส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น รวมไปถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือมีลักษณะลามกอนาจาร จึงต้องมีมาตรการขึ้นมาเพื่อเป็นการควบคุมนั่นเอง
3. ถาม: แล้วแบบไหนจึงจะเรียกว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้
ตอบ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข
การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด
การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล
เหล่านี้ถือว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้

" ผู้ให้บริการ ทุกคน เช่น หอพัก หรือ ผู้ทำอินเทอร์เน็ตในหอพัก จะต้องมีระบบจัดการข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ และจัดเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน ไม่เช่นนั้น อาจถูกปรับสูงสุด 5 แสนบาท "

4. ถาม: ผู้ให้บริการที่ระบุใน พ.ร.บ. นี้ คือบุคคลใดบ้าง
ตอบ สำหรับผู้ให้บริการตามที่พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้ สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
4.1ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย
4.2 ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่าอินเทอร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน
4.3 ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider)
4.4 ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น

ผู้ให้บริการ หมายถึง
ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Access Service Provider)

1.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) ทั้งมีสาย และไร้สาย
2. ผู้ประกอบการซึ่งให้บริการในการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในห้องพัก ห้องเช่า โรงแรม หรือ ร้านอาหารและเครื่องดืม ในแต่ละกลุ่มอย่างหนึ่งอย่างใด
3.ผู้ให้บริการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับองค์กร เช่น หน่วยงานราชการ บริษัท หรือ สถาบันการศึกษา

WDS คืออะไร?

ที่มา:http://www.thelordofwireless.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2777
WDS ย่อมาจาก Wireless Distribution System ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานแบบหนึ่งของ Access Point (หรือ Wirless Router) ใช้ในการต่อเชื่อมเครือข่าย (Bridge) ระหว่าง WDS node และในขณะเดียวกันก็สามารถทำงานเป็น AP รับการต่อเชื่อมจาก Wireless Client ได้พร้อมกัน (การทำงานในลักษณะ Repeater) 


WDS เหมาะกับการเอาไปใช้แบบไหน? 
- Bridge: WDS สามารถเอาเซ็ตให้มันทำงานแบบ bridge อย่างเดียว โดยไม่รับ wireless client การทำงานแบบนี้เรียกว่า WDS แบบ point-to-point ซึ่งใช้เชื่อมต่อเครื่อข่ายแบบมีสาย 2 แห่งเข้าด้วยกันโดยรวมกันเป็น subnet เดียว 

- Repeater: อันนี้ตรงไปตรงมาครับ เป็นการใช้งานในรูปแบบ repeater คือ WDS node จะทำหน้าที่รับข้อมูลจาก WDS node ตัวอื่นและ repeat สัญญาณออกไปอีกที เป็นการขยายขอบเขตของสัญญาณ ข้อดีคือนอกจากจะทำงานเป็น repeater แล้ว คอมพิเตอร์ที่มาต่อกะ LAN ports ก็ยังสื่อสารกะเครื่องอื่นๆ ได้ด้วย (เทียบๆ แล้วคือ Bridge + Repeater แบบพร้อมๆ กัน) 
ข้อดีของการเอา WDS มาเป็น bridge repeater คือมันสามารถกำหนดได้ ว่าให้ติดต่อกะ WDS node อันไหนบ้าง กรณีที่มี WDS node หลายตัว ซึ่งถ้าเราวางแผนดีๆ มันจะช่วยให้เน็ทเวิร์คมีประสิทธิภาพ (การต่อแบบ star) หรือมีเสถียรภาพเพิ่มขึ้นได้ (เช่นการต่อแบบ loop) http://www.tomsnetworking.com/Sections-article78-page10.php ถ้าเราชอบแบบง่ายๆ เราก็สามารถเลือก lazy WDS คือปล่อยให้มันเชื่อมต่อกะ WDS node อะไรก็ได้ (ไม่แนะนำ) 

ข้อจำกัดของ WDS 
WDS เป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สาย AP ทุกตัวในโหมด WDS จะใช้แค่ channel เดียวในการสื่อสารกัน และเนื่องด้วย WLAN 802.11b/g ใช้การสื่อสารแบบ half duplex (ในขณะใดขณะหนึ่งจะรับหรือส่งข้อมูลพร้อมกันไม่ได้ คล้ายๆ การพูดคุยแบบวิทยุ walkie-talkie) ดังนั้น ทุกๆ wireless hop จะต้องเสียเวลาจำนวนหนึ่งในการรับข้อมูลและส่งต่อข้อมูล ส่งผลให้ bandwidth ลดลง ลองพิจารณาข้อมูลตามนี้นะครับ (ก็อบมาจากคำอธิบายของนาย 4Access จาก linksysinfo.org) --- คือมีสาย ~~~ คือการสื่อสารไร้สาย 

1. Wireless Client ~~~ [AP1] --- Wired Network (or Internet) 
แบบแรกคือ AP แบบปกติที่เราใช้ๆ กัน สมมติว่าเราใช้ 802.11g 54Mpbs เอาจริงๆ ใช้ได้ประมาณ 20-24Mbps ซึ่งถ้าเป็นตามนี้เราก็จะสามารถสื่อสารระหว่าง Wireless Client กะ Wired Network ได้ประมาณ 20-24Mbps สมมติว่าส่งข้อมูล 1 packet ใช้เวลา 1ms อันนี้สมมติไว้สำหรับตัวอย่างต่อไปนะครับ เราจะใช้เวลา 1ms ในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง 

2. Wireless Client ~~~ [AP2] ~~wds~~ [AP1] -- Wired Network 
แบบนี้มี AP2 เพิ่มเข้ามาอีกตัวเพื่อขยายเครือข่าย (repeater) โดยต่อกับ AP1 ด้วย WDS คราวนี้ เราจะเห็นว่าเกิด 2 wireless hops ระหว่าง Wireless Client กะ Wired Network ซึ่งจากเหตุผลเรื่อง half duplex ที่ผมบอกไว้แล้ว การส่งข้อมูล 1 packet จะระหว่าง Wireless Client กะ AP2 จะใช้เวลา 1ms และจาก AP1 ไปยัง AP2 จะใช้อีก 1ms รวมต้นทางถึงปลายทางใช้ 2ms หรือในอีกแง่หนึ่งคือ bandwidth จากต้นทางถึงปลายทางจะเหลือครึ่งหนึ่งของแบบแรก (เหลือ 10-12Mbps) ถ้าต่อหลาย hop จะยิ่งลดลงเรื่อยๆ 

3. Wired Netowork --- [AP2] ~~wds~~ [AP1] -- Wired Network 
แบบที่ 3 ใช้ WDS bridge ระหว่าง wired network เกิด wireless hop อันเดียวแบบรูปแรก ดังนั้นก็จะได้ bandwidth เต็ม (20-24Mbps) 

ปัญหาอีกอย่างของ WDS คือ เสถียรภาพ ซึ่งยังไงๆ ไร้สายมันก็สู้มีสายไม่ได้อยู่แล้ว อันนี้คงต้องขึ้นกับคุณภาพสัญญาณ (ระยะทาง เสาส่ง การรบกวน) และคุณสมบัติของ AP ที่เอามาใช้ทำ WDS Network