วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

วิธีคำนวณค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ถูกต้อง

ที่มา:http://userspatax.fix.gs/index.php?topic=253.0 ตามมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ให้ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สิน คือ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นกับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น นั้น ในอัตราร้อยละสิบสองครึ่งของค่ารายปี เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ “ค่ารายปี” หมายความว่า จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆ ในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นให้เช่า ให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้หรือเป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเองหรือด้วยเหตุประการอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีได้ โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา จากมาตราดังกล่าวจะเห็นว่าถ้าทรัพย์สินดังกล่าวเจ้าของให้เช่าจะต้องคิดจากค่าเช่าเท่านั้น แต่กรณีที่ไม่สามารถหาค่าเช่าได้หรือเห็นว่าค่าเช่าที่ได้รับแจ้งนั้นมิใช่ค่าเช่าจริงก็ให้พิจารณาโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ซึ่งในที่นี้กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้คือให้ อำนาจท้องถิ่นกำหนดเกณฑ์ราคาค่าเช่ามาตรฐานกลาง(บาท/ตารางเมตร/เดือน) ดูขั้นตอนการจัดทำเกณฑ์ค่าเช่ามาตรฐานกลางที่นี่ (คลิก) .... ซึ่งโดยสรุปสามารถกำหนดรูปแบบวิธีการคำนวณค่ารายปีได้ตามการใช้ประโยชน์โรงเรือนดังนี้ 1. การเช่าใช้ประโยชน์โรงเรือนทั้งอาคาร เช่น นายแดงให้เช่าบ้านในราคา 2,000.- บาทต่อเดือน ดังนั้นถ้านายแดงให้เช่าทั้งปีโดยไม่มีเดือนว่างค่ารายปีของบ้านหลังดังกล่าวที่นายแดงให้เช่าเท่ากับ 2,000 x 12 = 24,000.- บาท และค่าภาษีเท่ากับ 12.5% x 24,000.- = 3,000.- บาท 2. การเช่าใช้ประโยชน์โรงเรือนภายในอาคาร(รายเดือน) คำนวนภาษีเช่นเดียวกับกรณีที่ 1 แต่มีหลายห้อง ซึ่งคำนวณเป็นห้องๆ ไปครับ แต่กรณีนี้อาจมีการใช้ประโยชน์พื้นที่ส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่เป็นห้องเช่าต้องนำมาบวกเพิ่มกับส่วนห้องเช่า เช่นพื้นที่สำนักงาน พื้นที่จอดรถ ซึ่งจะคำนวณจากเกณฑ์ค่าเช่ามาตรฐานกลาง เช่น เราประกาศค่าเช่ามาตรฐานกลางกรณีพื้นที่สำนักงานไว้ 10 บาท/ตารางเมตร/เดือน และอาคารดังกล่าวมีพื้นที่สำนักงาน 24 ตารางเมตร ดังนั้นค่ารายปีเท่ากับ 24x10x12 = 2,880.- บาท นำไปรวมกับค่ารายปีห้องเช่าครับ 3. การเช่าใช้ประโยชน์โรงเรือนภายในอาคาร(รายวัน) มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ดังนี้ ค่ารายปีกรณีการเช่าต่อวันให้คิดในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 8 ของค่าเช่าทั้งปี ดังนั้นถ้ามีห้องเช่า 300.- บาท/วัน จำนวน 8 ห้อง ค่ารายปีจะเท่ากับ 8x300x365x8% = 70,080.- บาท และนำไปรวมกับค่ารายปีพื้นที่อื่นๆครับ 4. กำหนดรายปีตามประเภททรัพย์สิน เช่น ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ครับ

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

code SQL Person ของ JHCIS ที่ใช้สำหรับ ออก 18 แฟ้ม


เป็นตัวสึแดงเป็นรหัสสถานพยาบาลของเราก่อนน๊ะครับ
เครื่องมือสำหรับ run sql เหล่านี้มีหลายตัว เช่น Mysqlfont, PhpMyAdmin, Aquadata studio,EMS sql Manager,Mysql Admin tool ฯลฯ
SELECT DISTINCT D.pcucodeperson, D.idcard, D.pid, D.hcode, D.prename, D.fname, D.lname, D.sex, IF(D.birth='' OR D.birth='0000-00-00','',D.birth) AS birth, D.roadmoi, D.hnomoi, D.mumoi, D.subdistcodemoi, D.distcodemoi, D.provcodemoi, D.marystatus, D.occupa, IF(D.origin IS NULL OR TRIM(D.origin)='','',D.origin) AS origin, IF(D.nation IS NULL OR TRIM(D.nation)='','',D.nation) AS nation, D.religion, D.educate, D.familyposition, D.fatherid, D.motherid, D.mateid, IF(D.datein IS NULL OR D.datein='' OR D.datein='0000-00-00','',D.datein) AS movein, D.dischargetype AS dischar, IF(D.dischargedate IS NULL OR TRIM(D.dischargedate)='' OR D.dischargedate='0000-00-00','',D.dischargedate) AS ddisch, D.bloodgroup, D.intercode, D.typelive, IF(H.villcode IS NOT NULL,H.villcode,'') AS villcode, IF(CN.mapnation IS NOT NULL AND TRIM(CN.mapnation)<>'',CN.mapnation,'') AS mapnation, IF(CR.mapnation IS NOT NULL AND TRIM(CR.mapnation)<>'',CR.mapnation,'') AS maporigin, IF(D.dateupdate IS NULL OR TRIM(D.dateupdate)='' OR D.dateupdate='0000-00-00', CONCAT(DATE_FORMAT(CURDATE(),'%Y-%m-%d'),' ',TIME_FORMAT(CURTIME(),'%H:%i:%s')), D.dateupdate) AS d_update FROM person D LEFT JOIN house H ON (D.pcucodeperson=H.pcucode AND D.hcode=H.hcode) LEFT JOIN cnation CN ON (D.nation=CN.nationcode) LEFT JOIN cnation CR ON (D.origin=CR.nationcode) WHERE SUBSTRING(H.villcode,7,2)<>'00' AND D.pcucodeperson='09558' UNION SELECT DISTINCT D.pcucodeperson, D.idcard, D.pid, D.hcode, D.prename, D.fname, D.lname, D.sex, IF(D.birth='' OR D.birth='0000-00-00','',D.birth) AS birth, D.roadmoi, D.hnomoi, D.mumoi, D.subdistcodemoi, D.distcodemoi, D.provcodemoi, D.marystatus, D.occupa, IF(D.origin IS NULL OR TRIM(D.origin)='','',D.origin) AS origin, IF(D.nation IS NULL OR TRIM(D.nation)='','',D.nation) AS nation, D.religion, D.educate, D.familyposition, D.fatherid, D.motherid, D.mateid, IF(D.datein IS NULL OR D.datein='' OR D.datein='0000-00-00','',D.datein) AS movein, D.dischargetype AS dischar, IF(D.dischargedate IS NULL OR TRIM(D.dischargedate)='' OR D.dischargedate='0000-00-00','',D.dischargedate) AS ddisch, D.bloodgroup, D.intercode, D.typelive, IF(H.villcode IS NOT NULL,H.villcode,'') AS villcode, IF(CN.mapnation IS NOT NULL AND TRIM(CN.mapnation)<>'',CN.mapnation,'') AS mapnation, IF(CR.mapnation IS NOT NULL AND TRIM(CR.mapnation)<>'',CR.mapnation,'') AS maporigin, IF(D.dateupdate IS NULL OR TRIM(D.dateupdate)='' OR D.dateupdate='0000-00-00', CONCAT(DATE_FORMAT(CURDATE(),'%Y-%m-%d'),' ',TIME_FORMAT(CURTIME(),'%H:%i:%s')), D.dateupdate) AS d_update FROM person D INNER JOIN visit V ON (D.pcucodeperson=V.pcucodeperson AND D.pid=V.pid) LEFT JOIN house H ON (D.pcucodeperson=H.pcucode AND D.hcode=H.hcode) LEFT JOIN cnation CN ON (D.nation=CN.nationcode) LEFT JOIN cnation CR ON (D.origin=CR.nationcode) WHERE SUBSTRING(H.villcode,7,2)='00' AND D.pcucodeperson='09558'

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

ทำไมต้องทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน

ที่มา : http://www.gisphuket.com/form.php?page=article&id=20 หลายท่านคงสงสัยว่าเราทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินไปทำไม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้ประโยชน์อะไร เนื่องจากหน่วยงานบางแห่งต้องลงทุนงบประมาณจำนวนมากเพื่อจัดทำ แต่สามารถจัดเก็บภาษีได้น้อยนิดเมื่อเทียบกับงบประมาณที่ลงทุนไป และจะทำอย่างไรจึงจะสามารถจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินให้สามารถใช้งานได้ และใช้งบประมาณน้อย แผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน เป็นระบบสารสนเทศเชิงพื้นที่ที่เรารู้จักกันในนาม "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" เนื่องจากประกอบด้วยข้อมูล 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงบรรยาย(ทะเบียนทรัพย์สิน) และข้อมูลเชิงพื้นที่(แผนที่ภาษี) โดยที่ข้อมูลทั้งสองจะมีความสัมพันธ์กันทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลไปมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นระบบสารสนเทศชนิดนี้จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำไปใช้ในการตรวจสอบข้อมูลทรัพย์สินที่อยู่ในข่ายชำระภาษี และยังมิได้ชำระ ซึ่งจะทำให้สามารถติดตามและจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งของทรัพย์สินที่สนใจ ซึ่งจะมีผลต่ออัตราภาษีที่จะนำมาใช้ในการประเมินภาษี (ทำเลภาษี/หน่วยที่ดิน) เหล่านี้จึงเป็นเหตุผลที่ส่วนกลางพยายามผลักดันให้ท้องถิ่นจัดทำระบบดังกล่าว นอกจากนี้หน่วยงานที่จะดำเนินการจัดทำระบบดังกล่าวยังต้องพิจารณาถึงการนำระบบดังกล่าวมาใช้งานในการบริการรับชำระภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช้เพียงแค่ทำให้มีระบบเท่านั้น ประโยชน์ที่ได้จากแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน แผนที่ภาษี 1. ทำให้ทราบขอบเขตการปกครองของหน่วยงานในระดับแปลงที่ดิน 2. ทำให้ทราบทรัพย์สินที่อยู่ภายในขอบเขตปกครองของหน่วยงาน 3. ทำให้ทราบตำแหน่งที่ตั้งของทรัพย์สินที่สนใจ (ทำเลภาษี-การประเมินภาษีที่ถูกต้อง) 4. ทำให้ทราบทรัพย์สินที่ยังมิได้ชำระภาษี 5. เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเพิ่มรายการทรัพย์สินที่ต้องชำระภาษี(เพิ่มรายใหม่ และเพิ่มยอดภาษี) ทะเบียนทรัพย์สิน 1. ทำให้ทราบรายละเอียดของทรัพย์สินที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบันของผู้มีกรรมสิทธิ์แต่ละราย 2. ทะเบียนทรัพย์สิน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริการรับชำระภาษี

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

ระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินคืออะไร

ที่มา:http://www.gisphuket.com/form.php?page=article&id=19 แผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน คือ เครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เพิ่มประสิทธิภาพในรับชำระภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีเป้าหมายที่ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินภายในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับภาษีที่จัดเก็บ และผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นๆ ที่มีหน้าที่ชำระภาษี โดยจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และครบถ้วน ทำให้สามารถ • จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้งานได้อย่างรวดเร็ว (บริการรับชำระได้ อย่างรวดเร็ว) • จัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน จะทำให้สามารถประเมินภาษีได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม • จัดเก็บข้อมูลที่ครบถ้วน จะทำให้สามารถติดตามทรัพย์สินที่ยังไม่ได้ชำระภาษี (จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น) จุดเริ่มต้นของแผนที่ภาษีคือ ปี พ.ศ.2520 เมื่อกระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้เทศบาลทั่วประเทศจัดทำทะเบียนทรัพย์สินขึ้น เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือจัดเก็บรายได้ ติดตาม เร่งรัดภาษี แต่แนวทางปฏิบัติยังไม่มีการกำหนดแน่ชัด ต่อมาได้มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินมาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพทางด้านการคลังในแผนแม่บทกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3(พ.ศ.2525-2529) จึงได้มีการศึกษาและพัฒนาจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย 1. แผนที่ภาษี คือ ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่แสดงรูปร่างและตำแหน่งที่ตั้งของทรัพย์สิน รวมถึงข้อมูลทางกายภาพที่แสดงถึงตำแหน่งที่ตั้งของทรัพย์สินภายในเขตปกครอง โดยมีการจัดแบ่งพื้นที่ภายในเขตปกครองออกเป็นเขต (Zone) และเขตย่อย (Block) เพื่อให้สะดวกในการจัดเก็บเอกสารและค้นหา 2. ทะเบียนทรัพย์สิน คือ ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้มีกรรมสิทธิ์แต่ละราย โดยมีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ และเมื่อคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในปัจจุบันมากขึ้น ทำให้เกิดการนำเอาระบบดังกล่าว มาจัดทำในรูปแบบข้อมูลเชิงเลข หรือ Digital Map ซึ่งนับว่าเป็นการนำเอาระบบสารสนเทศเชิงภูมิศาสตร์ หรือ GIS เข้ามาประยุกต์ใช้ในการจุดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้เป็นอย่างดี