วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

ทำไมต้องทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน

ที่มา : http://www.gisphuket.com/form.php?page=article&id=20 หลายท่านคงสงสัยว่าเราทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินไปทำไม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้ประโยชน์อะไร เนื่องจากหน่วยงานบางแห่งต้องลงทุนงบประมาณจำนวนมากเพื่อจัดทำ แต่สามารถจัดเก็บภาษีได้น้อยนิดเมื่อเทียบกับงบประมาณที่ลงทุนไป และจะทำอย่างไรจึงจะสามารถจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินให้สามารถใช้งานได้ และใช้งบประมาณน้อย แผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน เป็นระบบสารสนเทศเชิงพื้นที่ที่เรารู้จักกันในนาม "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" เนื่องจากประกอบด้วยข้อมูล 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงบรรยาย(ทะเบียนทรัพย์สิน) และข้อมูลเชิงพื้นที่(แผนที่ภาษี) โดยที่ข้อมูลทั้งสองจะมีความสัมพันธ์กันทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลไปมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นระบบสารสนเทศชนิดนี้จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำไปใช้ในการตรวจสอบข้อมูลทรัพย์สินที่อยู่ในข่ายชำระภาษี และยังมิได้ชำระ ซึ่งจะทำให้สามารถติดตามและจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งของทรัพย์สินที่สนใจ ซึ่งจะมีผลต่ออัตราภาษีที่จะนำมาใช้ในการประเมินภาษี (ทำเลภาษี/หน่วยที่ดิน) เหล่านี้จึงเป็นเหตุผลที่ส่วนกลางพยายามผลักดันให้ท้องถิ่นจัดทำระบบดังกล่าว นอกจากนี้หน่วยงานที่จะดำเนินการจัดทำระบบดังกล่าวยังต้องพิจารณาถึงการนำระบบดังกล่าวมาใช้งานในการบริการรับชำระภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช้เพียงแค่ทำให้มีระบบเท่านั้น ประโยชน์ที่ได้จากแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน แผนที่ภาษี 1. ทำให้ทราบขอบเขตการปกครองของหน่วยงานในระดับแปลงที่ดิน 2. ทำให้ทราบทรัพย์สินที่อยู่ภายในขอบเขตปกครองของหน่วยงาน 3. ทำให้ทราบตำแหน่งที่ตั้งของทรัพย์สินที่สนใจ (ทำเลภาษี-การประเมินภาษีที่ถูกต้อง) 4. ทำให้ทราบทรัพย์สินที่ยังมิได้ชำระภาษี 5. เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเพิ่มรายการทรัพย์สินที่ต้องชำระภาษี(เพิ่มรายใหม่ และเพิ่มยอดภาษี) ทะเบียนทรัพย์สิน 1. ทำให้ทราบรายละเอียดของทรัพย์สินที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบันของผู้มีกรรมสิทธิ์แต่ละราย 2. ทะเบียนทรัพย์สิน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริการรับชำระภาษี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น