วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

ระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินคืออะไร

ที่มา:http://www.gisphuket.com/form.php?page=article&id=19 แผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน คือ เครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เพิ่มประสิทธิภาพในรับชำระภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีเป้าหมายที่ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินภายในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับภาษีที่จัดเก็บ และผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นๆ ที่มีหน้าที่ชำระภาษี โดยจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และครบถ้วน ทำให้สามารถ • จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้งานได้อย่างรวดเร็ว (บริการรับชำระได้ อย่างรวดเร็ว) • จัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน จะทำให้สามารถประเมินภาษีได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม • จัดเก็บข้อมูลที่ครบถ้วน จะทำให้สามารถติดตามทรัพย์สินที่ยังไม่ได้ชำระภาษี (จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น) จุดเริ่มต้นของแผนที่ภาษีคือ ปี พ.ศ.2520 เมื่อกระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้เทศบาลทั่วประเทศจัดทำทะเบียนทรัพย์สินขึ้น เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือจัดเก็บรายได้ ติดตาม เร่งรัดภาษี แต่แนวทางปฏิบัติยังไม่มีการกำหนดแน่ชัด ต่อมาได้มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินมาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพทางด้านการคลังในแผนแม่บทกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3(พ.ศ.2525-2529) จึงได้มีการศึกษาและพัฒนาจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย 1. แผนที่ภาษี คือ ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่แสดงรูปร่างและตำแหน่งที่ตั้งของทรัพย์สิน รวมถึงข้อมูลทางกายภาพที่แสดงถึงตำแหน่งที่ตั้งของทรัพย์สินภายในเขตปกครอง โดยมีการจัดแบ่งพื้นที่ภายในเขตปกครองออกเป็นเขต (Zone) และเขตย่อย (Block) เพื่อให้สะดวกในการจัดเก็บเอกสารและค้นหา 2. ทะเบียนทรัพย์สิน คือ ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้มีกรรมสิทธิ์แต่ละราย โดยมีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ และเมื่อคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในปัจจุบันมากขึ้น ทำให้เกิดการนำเอาระบบดังกล่าว มาจัดทำในรูปแบบข้อมูลเชิงเลข หรือ Digital Map ซึ่งนับว่าเป็นการนำเอาระบบสารสนเทศเชิงภูมิศาสตร์ หรือ GIS เข้ามาประยุกต์ใช้ในการจุดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น