วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สตง"พบอปท"31แห่งใช้"จีไอเอส"จัดเก็บรายได้ ไม่เกิดประโยชน์ ทำรัฐสูญนับร้อยล้าน

วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เวลา 18:49:16 น.  มติชนออนไลน์

สต ง.เผย อปท.ใช้ระบบ"จีไอเอส"ในการจัดเก็บรายได้เทศบาลได้ไม่เต็มประสิทธิภาพส่งผล เสียหายนับร้อยล้านบาท หากไม่ให้ความสำคัญจะสูญเปล่า แนะทางแก้ไขอบรมบุคลากรเพื่อนำระบบมาใช้งาน

แหล่งข่าวจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมว่า สตง.เข้าตรวจสอบการดำเนินงานการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (จีไอเอส) มาใช้ในการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลหลายแห่ง หลังจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีพันธกิจในด้านการพัฒนาความเข้มแข็งด้านการเงินการคลังขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น (อปท.) และมีเป้าประสงค์ให้ อปท.สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและบริหารจัดการในท้องถิ่นด้วยตนเองอย่างเป็น ประสิทธิภาพ โดยจัดสรรงบประมาณอุดหนุนทั่วไป เพื่อลดช่วงว่างทางการคลัง ให้แก่ อปท. โดยจัดสรรงบประมาณจำนวน 400 ล้านบาท ให้กับเทศบาลกว่า 40 แห่ง ในปีงบประมาณ 2547 เพื่อจัดทำโครงการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มาใช้ในการวางแผนพัฒนา อปท. 


นอก จากนี้ ยังมี อปท.หลายแห่งเห็นความประโยชน์ในการนำระบบดังกล่าวมาใช้ในการจัดเก็บรายได้ โดยใช้งบประมาณของตนเองในการดำเนินการ ซึ่งพบว่าการดำเนินงานที่ผ่านมาของเทศบาลประสบปัญหาหลายประการ จนทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากระบบได้ หรือใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้สูญเสียงบประมาณเป็นจำนวนเงินนับร้อยล้านบาท


ทั้งนี้ จากการสุ่มตรวจสอบการใช้งานระบบจีไอเอสของเทศบาล ที่ได้รับการจัดสรรงบจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 27 แห่ง วงเงิน 245 ล้านบาท และเทศบาลที่ใช้งบประมาณของตนเองวางระบบจีไอเอส จำนวน 47 แห่ง วงเงิน 116.83 ล้านบาท รวมทั้งหมด 71 แห่ง วงเงิน 361.83 ล้านบาท พบข้อสังเกตสำคัญ 2 ประเด็น คือ 1.มีเทศบาลไม่ได้ใช้ประโยชน์จากระบบจีไอเอสในการจัดเก็บรายได้ จำนวน 36 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50.70 ของเทศบาลที่ตรวจสอบ จำนวนเงิน 139.67 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ มีเทศบาล 4 แห่ง ที่ยังไม่ได้ตรวจรับงาน เนื่องจากที่ปรึกษาจัดทำโปรแกรมไม่สมบูรณ์และนำเข้าข้อมูลไม่ถูกต้องครบถ้วน ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา จำนวนเงิน 42 ล้านบาท  2. มีเทศบาลที่ใช้ประโยชน์จากระบบจีไอเอสในการจัดเก็บรายได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จำนวน 31 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 43.66 ของจำนวนเทศบาลที่ตรวจสอบ เป็นจำนวนเงิน 180.16 ล้านบาท  


ทั้ง นี้ ในประเด็นเรื่องการไม่ได้ใช้ประโยชน์จากระบบจีเอสไอ จากการตรวจสอบรายการเคลื่อนไหวในระบบเอกสารข้อมูลที่ดิน โรงเรือน ป้าย และใบอนุญาต ในทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4.) รายการชำระภาษี และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5.) จำนวนเทศบาลละ 100 ราย ในจำนวน 71 แห่ง ที่เลือกตรวจสอบพบว่าเทศบาลจำนวน 36 แห่ง ไม่มีการเคลื่อนไหวของข้อมูลดังกล่าวในระบบจีไอเอส หมายความว่าเทศบาลทั้งหมดยังคงบันทึกการเคลื่อนไหวของข้อมูลตามระบบเอกสาร เช่นเดิม ไม่มีการบันทึกข้อมูลและประมวลผลผ่านระบบจีไอเอสแต่อย่างใด
ส่วนกรณีการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพของเทศบาลจำนวน 31 แห่ง แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ 1.ระบบ จีไอเอสไม่สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลที่สำคัญต่างๆ อาทิ การเลือกตำแหน่งในแผนที่แล้วสามารถแสดงรายละเอียดทรัพย์สิน ระบุชื่อเจ้าของหรือรหัสที่ดินที่สามารถแสดงตำแหน่งทรัยพ์สิน หรือค่าภาษีทุกประเภทที่ต้องชำระ 2.การใช้ระบบจีไอเอสในการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ไม่ครบทุกขั้นตอน   


"ผล จากการที่เทศบาลไม่ได้ใช้ประโยชน์และใช้ประโยชน์จากระบบจีไอเอสในการจัดเก็บ รายได้ ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนเงินรวม 143.09 ล้านบาท หากเทศบาลปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง เงินที่ใช้เป็นก็จะก่อให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่า แต่ในทางตรงกันข้าม หากไม่ให้ความสำคัญ จะเกิดการสูญเปล่าไม่ได้ประโยชน์แต่อย่างใด" แหล่งข่าวระบุ 


แหล่ง ข่าวกล่าวว่า เบื้องต้น สตง.ได้ทำหนังสือแจ้งข้อเสนอแนะไปยังอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ การแจ้งให้ อปท.ทุกแห่งที่นำระบบจีไอเอส มาใช้ในการจัดเก็บรายได้ ตรวจสอบการดำเนิน เพื่อรายงานปัญหาและอุปสรรคจากการใช้ประโยชน์ โดยให้แจ้งสาเหตุแนวทางแก้ไข และระยะเวลาที่จะดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จให้กรมทราบ เพื่อจะได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป พร้อมทั้งติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาของ อปท. โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากร ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไม่มีการใช้ประโยชน์จากระบบดังกล่าว นอกจากนี้ควรจัดให้มีศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติงานให้กับ อปท. ที่นำระบบจีไอเอสมาใช้ด้วย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน


ในการติดตามผลการดำเนินการของเทศบาล สตง.ได้แจ้งให้นายกเทศมนตรีดำเนินการแก้ไขปัญหาไปบ้างส่วนแล้ว ดังนี้ 1.แต่ง ตั้งคณะทำงานดำเนินการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน จากการไม่ได้ใช้ประโยชน์จากระบบจีไอเอสในการเก็บรายได้แล้ว และต้องรายงานให้ผู้บริหารรับทราบเพื่อติดตามผลให้แล้วเสร็จ 2.จัด ทำแผนพัฒนาบุคลากรสำหรับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการใช้งาน และจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ให้มีความรู้ความสามารถในการนำระบบมาใช้งาน และปรับปรุงอุปกรณ์ใช้งานให้มีประสิทธิภาพแยกออกจากงานอื่น เพื่อป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ รวมถึงกำหนดให้มีหน่วยงานเป็นศูนย์กลางรับผิดชอบดูแลรักษาระบบสารสนเทศ และส่งเสริมให้ผู้ใช้งานเล็งเห็นความสำคัญในการนำระบบนี้มาใช้ในการจัดเก็บ รายได้ 3.เร่งรัดคณะกรรมการตรวจรับงานของเทศบาลจำนวน 4 แห่ง ที่ยังไม่ได้ตรวจรับงาน ให้วางแผนร่วมกับที่ปรึกษากรณีการนำเข้าข้อมูลไม่ครบถ้วนและโปรแกรมไม่ สมบูรณ์ เพื่อดำเนินการแก้ไขให้สามารถตรวจรับงานได้โดยเร็ว   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น