ลักษณะการต่อเชื่อมแบตเตอรี่ มีผลต่อขนาดแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับความต้องการนำไปใช้งาน และจะต้องเป็นแบตเตอรี่ชนิดเดียวกันเท่านั้นที่จะนำมาต่อเชื่อมกัน "หากผู้ใช้ต้องการแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น" ขอแนะนำให้ต่อเชื่อมแบตเตอรี่แบบอนุกรม (ข้อ 1) โดยการต่อเชื่อมแบตเตอรี่ทำได้ดังนี้
การต่อเชื่อมแบตเตอรี่แบบอนุกรม นำขั้วบวกของแบตเตอรี่อันที่ 1 ต่อเข้ากับขั้วลบของแบตเตอรี่อันที่ 2 และนำขั้วบวกของแบตเตอรี่อันที่ 2 ต่อเข้ากับขั้วลบของแบตเตอรี่อันที่ 3 ทำเช่นนี้ต่อไปจนครบจำนวนแบตเตอรี่
แรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ทั้งหมดเท่ากับ ผลรวมของแรงดันไฟฟ้าแต่ละแบตเตอรี่มารวมกัน
กระแสไฟฟ้าของแบตเตอรี่ทั้งหมดเท่ากับ ค่าของกระแสไฟฟ้าของแบตเตอรี่เซลล์เดียวเท่านั้น ไม่เปลี่ยนแปลง
การต่อเชื่อมแบตเตอรี่แบบขนาน นำขั้วบวกของแบตเตอรี่อันที่ 1 ต่อเข้ากับขั้วบวกของแบตเตอรี่อันที่ 2 และนำขั้วบวกของแบตเตอรี่อันที่ 2 ต่อเข้ากับขั้วบวกของแบตเตอรี่อันที่ 3 ทำเช่นนี้ต่อไปจนครบจำนวนแบตเตอรี่ จากนั้นนำขั้วลบของแบตเตอรี่อันที่ 1 ต่อเข้ากับขั้วลบของแบตเตอรี่อันที่ 2 และนำขั้วลบของแบตเตอรี่อันที่ 2 ต่อเข้ากับขั้วลบของแบตเตอรี่อันที่ 3 ทำเช่นนี้ต่อไปจนครบจำนวนแบตเตอรี่เช่นเดียวกัน
แรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ทั้งหมดเท่ากับ ค่าของแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่เซลล์เดียวเท่านั้น ไม่เปลี่ยนแปลง
กระแสไฟฟ้าของแบตเตอรี่ทั้งหมดเท่ากับ ผลรวมของกระแสไฟฟ้าแต่ละแบตเตอรี่มารวมกัน
การต่อเชื่อมแบตเตอรี่ทั้งแบบอนุกรมและแบบขนาน โดยนำลักษณะการต่อเชื่อมแบตเตอรี่ 2 แบบมารวมกัน เพื่อให้ได้แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าตามที่ต้องการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น