วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บริการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน.

            ด้วยกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนที่ภาษี และทะเบียนทรัพย์สินเพื่อนำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ จึงได้ออกระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2550 ซึ่งระเบียบดังกล่าวได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นว่าเพื่อเป็นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวง มหาดไทย ดังกล่าว และการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินเมื่อดำเนินการเสร็จเรียบร้อยตาม โครงการแล้วจะทำให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินต่าง ๆ ของประชาชนไว้ใช้สำหรับการจัดเก็บภาษี (ภาษีบำรุงท้องที่, ภาษีโรงเรือนที่ดินและภาษีป้าย) รวมทั้งค่าธรรมเนียมใบอนุญาตต่างๆ ไว้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการเร่งรัดติดตามจัดเก็บรายได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง และเป็นธรรมแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอย่างแท้จริง และยังทำให้การจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีระบบฐานข้อมูลที่แน่นอนและสามารถตรวจสอบได้โดยสะดวก รวดเร็ว นอกจากนี้ทุกหน่วยงานภายในท้องถิ่นก็สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการบริหารงานและ พัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีรายละเอียดในการดำเนินการดังนี้
1.1 จัดทำแผนแม่บท
ดำเนินการจัดทำแผนที่แม่บทระบบดิจิตอล (Digital System) เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการการสำรวจข้อมูลภาคสนามโดยรวบรวมแปลงที่ดิน ในพื้นที่ทั้งหมดจากเอกสารต่างๆจากสำนักงานที่ดิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยแยกเป็นชั้นข้อมูลต่าง ๆ และต้องสามารถเชื่อมโยงเข้ากับโปรแกรมแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินได้อีก ด้วย
1.      จัดทำแผนที่แสดงแนวเขตปกครองและมีชื่อเลขระวางกำกับระวาง
2.      คัดลอก ระวางที่ดินทุกประเภทที่อยู่ในเขตปกครองโดยสำเนาเท่าต้นฉบับจริงทุกระวางรวม ทั้งระวางขยายจากสำนักงานที่ดิน
3.      กวาดภาพข้อมูลระวางที่ดินที่ได้คัดลอกจาก สำนักงานที่ดิน
4.      ปรับแก้ความถูกต้องทางเรขาคณิตและทางพิกัดภูมิศาสตร์ของ ระวางที่ดิน เพื่อนำมาเชื่อมต่อ(แสดง)ในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ให้เป็นผืนเดียวกัน
5.      จัดทำรูปแสดงแผนที่ดิจิตอล (รูปแปลงที่ดิน) จากระวางที่ดินซึ่งเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ให้สามารถอ้างอิงตำแหน่งพิกัดทาง ภูมิศาสตร์
6.      จัดทำรูปแสดงแผนที่ดิจิตอลแบ่งเขตปกครองในระวางเป็นแบบรายเขต (Zone) ตามความเหมาะสมโดยอ้างอิงแนวทางจากคู่มือการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียน ทรัพย์สิน
7.      จัดทำรูปแสดงแผนที่ดิจิตอลแบ่งเขตในระวางเป็นแบบรายเขตย่อย (Block) ตามความเหมาะสมโดยอ้างอิงแนวทางจากคู่มือการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียน ทรัพย์สิน
8.      จัดทำรูปแปลงที่ดินพร้อมหมุดดิน(ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็นโฉนด )เท่าขนาดระวางที่ดินต้นฉบับ และลงเลขประจำแปลงที่ดิน (Lot) แต่ละแปลงภายในเขตย่อยทั้งหมด และแสดงรายละเอียดรูปแปลงที่ดิน เลขประจำแปลงที่ดิน (Lot) เลขที่ดิน และเลขที่ระวาง
1.2 จัดทำแผนที่ทางกายภาพ
ดำเนินการจัดทำแผนที่ดิจิตอลข้อมูลกายภาพหรือข้อมูลฐาน(Base Map)จากข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ หรือข้อมูลภาพดาวเทียมรายละเอียดสูงหรือข้อมูลอื่นที่มีคุณภาพเทียบเท่าหรือ ดีกว่า เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานอื่นๆ ครอบคลุมพื้นที่ปกครอง
1.      จัดหาข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศสีหรือข้อมูลภาพถ่ายจาก ดาวเทียมรายละเอียดสูงครอบคลุมพื้นที่ปกครอง
2.      ปรับแก้ความถูกต้องทาง เรขาคณิตและทางพิกัดภูมิศาสตร์ของภาพถ่ายทางอากาศสีหรือข้อมูลภาพถ่ายจากดาว เทียมรายละเอียดสูง
3.      นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
4.      จัดทำแผนที่ ข้อมูลกายภาพ(Base Map) จากภาพที่ได้นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ประกอบด้วยชั้นข้อมูลดังนี้ ชั้นข้อมูลตารางกริด (Grid) ชั้นข้อมูลโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ(Building) ชั้นข้อมูลทางน้ำ(หรือแหล่งน้ำ) เส้นทางคมนาคม(ถนน) ทั้งเส้นกึ่งกลางและเส้นขอบ
5.      จัดทำแบบพิมพ์(Print Template)แผนที่แม่บทในรูปแบบข้อมูลเชิงตัวเลข(Digital Map) เมื่อต้องการพิมพ์แผนที่แม่บทให้มีรูปแบบตามที่ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่า ด้วยแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2550 กำหนด
1.3 จัดทำข้อมูลทะเบียนทรัพย์สิน
จัดทำและนำเข้าข้อมูลทะเบียนทรัพย์สิน สู่ระบบสารสนเทศงานทะเบียนทรัพย์สิน เพื่อนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการรับชำระภาษี
1.      นำเข้าข้อมูลทะเบียนทรัพย์สินสู่ระบบสารสนเทศงานทะเบียนทรัพย์สิน
2.      สำรวจและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนทรัพย์สินครอบคลุมพื้นที่ ตามข้อมูลที่คัดลอกมาจากสำนักงานที่ดิน
3.      ปรับปรุงแผนที่ภาษีในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(จากการสำรวจภาคสนาม)
4.      จัดเก็บข้อมูลทะเบียนทรัพย์สินที่ได้จากการสำรวจข้อมูลภาคสนามทั้งหมด รวมทั้งเอกสารสิทธิ์ที่ดินที่คัดลอกมาแต่ละแปลงที่ดินมาไว้ด้วยกัน โดยเรียงตามเลขประจำแปลงที่ดิน (Lot) ในแต่ละเขตย่อย (Block)
5.      บันทึกข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ จัดทำแบบพิมพ์ (Print Template) แผนที่ภาษี(ผ.ท.7) เมื่อต้องการพิมพ์แผนที่ภาษีในรูปแบบข้อมูลเชิงตัวเลข(Digital Map) ให้มีรูปแบบตามที่ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยแผนที่ภาษีและทะเบียน ทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2550 กำหนด

รายละเอียดเพิ่มเติม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น